ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยินยอมจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

Main Article Content

สุญาณี วจีสัจจ์
พิเชษฐ์ โสภาพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยินยอมจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบความสัมพันธ์ด้วยการหาค่าความแปรปรวน (Tolerance และค่า VIF) และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41 – 50 ปี      มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีอายุของกิจการ 6 – 10 ปี ลักษณะธุรกิจเป็นประเภทบริการ มีลักษณะการดำเนินงานในรูปแบบของบริษัทจำกัด และมีเงินลงทุนของกิจการ 1,000,001 ถึง 5,000,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความรู้ความเข้าใจด้านภาษีอากร ต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร ความเป็นธรรมของระบบภาษีอากร ความรุนแรงของบทลงโทษทางภาษีอากร การใช้จ่ายเงินภาษีของภาครัฐ และจริยธรรมของผู้มีหน้าที่เสียภาษี   มีอิทธิพลต่อการยินยอมจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
วจีสัจจ์ ส., & โสภาพงษ์ พ. (2019). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยินยอมจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4346–4363. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/218493
บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2558). ความรู้เรื่องภาษี. เรียกใช้เมื่อ 23 ตุลาคม 2561 จาก http://www.rd.go.th/publish/309.0.html

กรมสรรพากร. (2560). คู่มือใบกำกับภาษี. เรียกใช้เมื่อ 23 ตุลาคม 2561 จาก http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/ebook/taxinvoice.pdf

เจริญ ธฤติมานนท์. (2544). ความสมัครใจในการเสียภาษี. กรุงเทพมหานคร: สรรพากรสาส์น.

พิศมัย หมอยาดี. (2557). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารราชนครินทร์, 11(25), 61-67.

วิโรจน์ เลาหพันธุ์. (2523). การหลีกเลี่ยงและการหลบหนีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2561). ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2560. เรียกใช้เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2561 จาก http://www.fpo.go.th/FPO/index2. php?mod=Category&file=categoryview&categoryID=CAT0000674

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

Chandarasorn, M. (2012). Public Management as Citizen Compliance: A Case Study of Income Tax Compliance. In the Degree of Doctor of Philosophy Program in Public Affairs and Administration. University of Kansas.

Hair, J., Black, W., Babin, B. et al. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Kirchler, E. (2007). The Economic Psychology of Tax Behaviour. Cambridge: Cambridge University Press.

Marcelo, C. (2009). Strategic adoption in a two-sided market: A study of college applications in Brazil. Chicago: Department of Economic.

Masinde and Makau. (2010). KRA Domestic Taxes department; Income Tax at a glance. Kenya: Kenya Revenue Authority.

Peter, O.R. (2013). Analysis of Factors Affecting Tax Compliance in Real Estate Sector in Kenya: A Case of Real Estate Owners in Nakuru Town. Kenya: Kabarak University.

Pope, J., Fayle, R., & Duncanson, M. (1990). The Compliance Costs of Personal Income Taxation in Australia. Sydney: Australian Tax Research Foundation.

Slemrod. (2003). Consumer Response to Tax Rebates. American Economic Review, 93(1),381-396.