ปัจจัยที่มีผลต่อกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

เตชภณ ทองเติม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมทางกายและปัจจัยที่มีผลต่อกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุสูงวัย จำนวน 530 รูป ได้มาจากการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแบบอัลฟ่าของ   ครอนบาค (Cronbach Alpha) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. พระภิกษุสูงวัยมีระดับความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย มีระดับทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย และมีระดับพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย อยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อจำแนกตามระดับคะแนน พบว่า ตัวอย่างพระภิกษุสูงวัยมีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 65.47 มีทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 86.60 และมีพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 74.15

  2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัยในพื้นที่จังหวัด ศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยนำ (ทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย) อายุ และประวัติการล้มในช่วง 6 เดือน ก่อนการสำรวจ โดยสามารถร่วมพยากรณ์พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัยได้ ร้อยละ 17.2

Article Details

How to Cite
ทองเติม เ. (2019). ปัจจัยที่มีผลต่อกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4425–4437. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/218346
บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์. (2553). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ ในจังหวัดนครนายก. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 5(4), 333-343.

นัทธพงศ์ ลัทธพินันท์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายของพระภิกษุไทย. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัณณธร ชัชวรัตน์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. ใน รายงานการวิจัย. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา.

มินภัทร คำชะนาม. (2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรินทร์ ออละออ. (2557). สุขภาพพระสงฆ์ในบริบทชุมชนอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยสังคม, 37(2), 89-124.

สนธนา สีฟ้า. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุ ในจังหวัดปัตตานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมเกียรติ รามัญวงศ์ และคณะ. (2561). การส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดลพบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(25), 94-107.

สุชาดา วงศ์สืบชาติ. (2554). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดปากน้ำภาษีเจริญ. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวัตสัน รักขันโท และคณะ. (2551). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตภาคใต้ตอนบน. ใน รายงานการวิจัย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวิมล พลวรรณ. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเรื้อรัง จังหวัดสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาดทางการสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bloom, B. . (1971). Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Cochran, W.G. . (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins publishers.

Green, L. & Kreuter, M. (2005). Health program planning An educational and ecological approach. (4 th Edition). New York: McGraw Hill.

Purakom, A., et al. (2013). Association of physical activity, functional fitness and mental fitness among older adults in Nakornpathum, Thailand : A Pilot study. In ISBNPA. May 22-25th, Ghent, Belgium. ISBNPA.