มโนทัศน์และแนวทางการดำรงอัตลักษณ์พุทธปฏิมาล้านนา

Main Article Content

สุรพล มาประจักษ์
วิโรจน์ วิชัย
พูนชัย ปันธิยะ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษามโนทัศน์และคติการสร้างพุทธปฏิมาในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการและอัตลักษณ์ของพุทธปฏิมากรรมในล้านนา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการดำรงอัตลักษณ์พุทธปฏิมาล้านนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Dept Interview)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. มโนทัศน์และคติการสร้างพุทธปฏิมาในพระพุทธศาสนา ในครั้งพุทธกาลมีเพียงแนวคิดการใช้สัญลักษณ์ เช่น รอยพระพุทธบาท แท่นดอกบัว ธรรมจักร ต่อมาพุทธปฏิมาสร้างจากเรื่องราวตามพุทธประวัติและชาดก เช่น เรื่องยมกปาฏิหาริย์ ตำนานพระแก่นจันทน์ จุดกำเนิดของการสร้างพุทธปฏิมากรรมเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้ามิลินท์ มีพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้ ยุคคันธาราฐ ยุคมถุรา ยุคอมราวดี ยุคคุปตะและยุคปาละ

  2. พุทธปฏิมาล้านนามีวิวัฒนาการอยู่ 2 สาย คือ สายแรก รับอิทธิพลศิลปะปาละผ่านทางพุกาม สายที่สอง รับอิทธิพลของศิลปะแบบสุโขทัย ส่งผลให้พุทธปฏิมาล้านนาเป็นศิลปะผสมระหว่างหริภุญชัย มอญ พม่า จีนตอนใต้ สุโขทัยและล้านช้าง มีพุทธลักษณะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ ปฏิมาสิงห์ 1 ปฏิมาสิงห์ 2 และปฏิมาสิงห์ 3

  3. การดำรงอัตลักษณ์ปฏิมาล้านนา เป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาที่สำคัญให้คงอยู่คู่กับสังคมล้านนา โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1) การเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญและคุณค่า 2) การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา 3) การประยุกต์ภูมิปัญญาให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน 4) การถ่ายทอดความรู้ผ่านสถาบันพื้นฐาน โดยวิธีการสอน การบอก การฝึกฝน การทำให้ดูและพิธีไหว้ครู 5) การส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่าย และ 6) การเผยแพร่ผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ

Article Details

How to Cite
มาประจักษ์ ส., วิชัย ว., & ปันธิยะ พ. (2019). มโนทัศน์และแนวทางการดำรงอัตลักษณ์พุทธปฏิมาล้านนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 2291–2301. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/200328
บท
บทความวิจัย

References

กิติยา อุทวิ. (2556). ศึกษาคติความเชื่อของการสร้างพระพุทธปฏิมาในดินแดนล้านนา. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จุลทัศน์ พยาฆรานนท์. (2533). สรุปการสัมมนา เรื่องการอนุรักษ์พระพุทธรูป. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ฉลองเดช คูภานุมาต. (2552). แนวคิดมหาปุริสลักขณะพุทธปฏิมาศิลปะไทลื้อ เมืองน่าน. ใน รายงานการวิจัย. คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนพันธุ์ เมธาพิทักษ์. (2544). พระพุทธปฏิมากรกับเรื่องราวความเป็นมา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจริญกิจ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิทักษ์ น้อยวังคลัง. (2540). ศิลปกรรมท้องถิ่น ภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง . มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิลป์ พีระศรี. (2506). บทความจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2506). กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์. (2548). พระพุทธรูปสมัยอยุธยา ประวัติศาสตร์ชนชาติไทยกับปฏิมากรรมในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

สายันต์ ไพรชาญจิตร. (2545 ). การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีการทำบุญด้วยการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดน่าน. ใน รายงานการวิจัย. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.