การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ของพระสงฆ์นักพัฒนา

Main Article Content

ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ 2) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนา ในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ 3) เพื่อนำเสนอแนวทาง ในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ โดยภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูล คือ พระสงฆ์นักพัฒนาผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยาน จำนวน 17 จังหวัด 3 ภาค และการทำ Group Discussion จำนวน 9 ท่าน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการและด้านการรักษาอนุรักษ์ป่าไม้ของรัฐ


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. การใช้หลักพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างภูมิปัญญาที่จะทำมาประยุกต์ แต่ละภาคต่างกันด้วยพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ชุมชน การประกอบอาชีพของชุมชน และลักษณะของประเภทผืนป่า ป่าอุดมสมบูรณ์ ป่าแห้งแล้ง เป็นต้น จึงต้องใช้หลักธรรมที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ภาคกลาง ใช้หลักธรรมศีล 5 และหลักไตรสิกขา สร้างกิจกรรม อาชีพ และความสามัคคี ภาคอีสานใช้หลักอริยสัจ 4 และศีล 5 โดยการสร้างวัด สร้างโรงทานของอุปโภคบริโภคที่ได้มาจากภาครัฐ และวัดต่าง ๆ ร่วมกันสร้างกิจกรรมสอนอาชีพการเรียนรู้ ตั้งชมรมและสมาชิกของท้องถิ่นที่มี เพื่อชาวบ้านอยู่ดีกินดี มีความร่วมมือในการอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมผืนป่า ภาคเหนือ ใช้หลักความเพียร ขันติ วิริยะ อุสาหะ ศีล สมาธิ ปัญญา เมตตาและการมีหิริโอตัปปะ ใช้ห้องเรียนจากพื้นที่ป่า การเข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติภายในป่าด้วยการสร้างประเพณีการบวชป่า ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไว้ประจำในป่าแล้วส่งพระสงฆ์ไปจำพรรษาในป่า ซึ่งจัดเป็นภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาในการอนุรักษ์ป่า

  2. การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านป่าไม้ของแต่ละภาค แตกต่างกัน ดังนี้ ภาคกลางใช้แบบที่ 1 คือ หลักศีล 5 และไตรสิขา ภาคอีสานใช้แบบที่ 2 คือ หลักศีล 5 อริยสัจ 4 และเหนือใช้แบบที่ 3 คือ ความเพียร ขันติ วิริยะ อุสาหะ ศีล สมาธิ ปัญญา เมตตา และหิริโอตัปปะ ซึ่งแต่ละแบบของแต่ละภาคนั้น ได้ประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนา ด้วยการนำหลักธรรมไปปรับใช้กับประชาชน ให้ปฏิบัติตามหลักธรรม ซึ่งถือได้ว่าหลักธรรมแต่ละแบบ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมตามลักษณะของภูมิภาค ชุมชน และผืนป่านั้น ๆ การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนา ต้องเริ่มจากการศึกษา ค้นคว้าข้อมูล และทำความเข้าใจถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จึงสามารถช่วยให้การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้สัมฤทธิ์ผลแบบยั่งยืน

  3. แนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ โดยภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนา มีหลัก ไตรสิขา อริยสัจ 4 ความเพียร ขันติ วิริยะ อุสาหะ ศีล สมาธิ ปัญญา เมตตา และหิริ โอตัปปะ เพราะหลักธรรมแต่ละหลักธรรมกล่าวถึงความเป็นจริงในมนุษย์ และการอยู่ร่วมกันในสังคมตั้งแต่ครอบครัวจนถึง ชุมชน ต้องมีความเมตตาเอื้อเฟื้อเผือแผ่ต่อกัน มีความละอายและเกรงกลัวต่อความประพฤติที่ผิดทำนองคลองธรรม ไม่มีการเบียดเบียนกัน และไม่ควรเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ละเว้นสิ่งที่ทำความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น ซึ่งการใช้ภูมิปัญญาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถเป็นแนวทางที่ต้องใช้ปัญญา เพื่อให้คนในสังคมรู้แจ้งจะทำให้การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้สำฤทธิ์ผลต่อไป

Article Details

How to Cite
ปุณยวุฒิปรีดา ภ. (2019). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ของพระสงฆ์นักพัฒนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(6), 2895–2910. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/200327
บท
บทความวิจัย

References

ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์และชนิดา สังขพิทักษ์. (2546). การถือครองที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย: การควบคุมของรัฐ การจัดการชุมชน หรือสิทธิในการใช้ของปัจเจกชน. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.

พระครูพิพิธจารุธรรม, ดร. (2549). แนวทางการอนุรักษ์ป่าตามหลักคำสอนพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีมูลนิธิฮักเมืองน่าน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 30-44.

พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษ ภูริปญฺโญ, ผศ.ดร. (2562). การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงพุทธ. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวศ์การพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). วิถีชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กองทุนหนังสือประเทืองปัญญา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพสิฐ พาณิชย์กุล. (2541). พลวัตของชุมชนในการจัดการทรัพยากรสถานการณ์ในประเทศไทย : กฎหมายกับประเพณีท้องถิ่น (ร่วมวิจัย). ใน โครงการวิจัยร่วม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.