การพัฒนาโปรแกรมจีออนส์แจมสำหรับเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และความสามารถทางคณิตศาสตร์ของวัยเด็กตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมจีออนส์แจมสำหรับเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และความสามารถทางคณิตศาสตร์ของวัยเด็กตอนต้น 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางคณิตศาสตร์ของกลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นระหว่างก่อนและหลังการทดลอง 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางคณิตศาสตร์กลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กับกลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยเกมนัมเบอร์เรส และกลุ่มควบคุม ที่ไม่ได้ฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา อายุระหว่าง 6-8 ปี จำนวน 90 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยโปรแกรมจีออนส์แจม จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยเกมนัมเบอร์เรส จำนวน 30 คน และ กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมจีออนส์แจม เกมนัมเบอร์เรส แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ได้ค่าความเที่ยง (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .83 แบบทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ ได้ค่าความเที่ยง (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบที (t-test) ด้วยวิธีการทดสอบ Paired-Sample t Test และสถิติทดสอบเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการทดสอบ One way MANNOVA
ผลการวิจัยพบว่า
โปรแกรมจีออนส์แจมมีความเหมาะสมในการนำไปใช้สำหรับเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และความสามารถทางคณิตศาสตร์ กลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยโปรแกรมจีออนส์แจม หลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองปรากฏว่า กลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยโปรแกรมจีออนส์แจม มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยเกมนัมเบอร์เรส และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางคณิตศาสตร์เรื่องเส้นจำนวนภายในจิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. เรียกใช้เมื่อ 8 ธันวาคม 2559 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2015summaryreport/
Alloway, T. P., & Passolunghi, M. C. (2011). The relationship between working memory,IQ, and mathematical skills in children. Learning and Individual Differences, 21(1), 133-137.
Ashkenazi,S., et al. (2013). Visuo Spatial working memory is an important source of domain-general vulnerability in the development of arithmetic cognition. Neuropsychologia, 51(11), 2305–2317.
Baddeley, A. (2002). IS Working Memory Still Working? European Psychologist, 7(8), 5-97.
Biederman, I. (1985). Human image understanding: Recent research and theory. Computer Vision, Graphics, and Image Processing, 31(3), 400-401.
Butterworth, B. (1999). The mathematical brain. London: Macmillan.
Carew, T. J., & Magsamen , S. H. (2010). Neuroscience and education: AN ideal partnership for producing evidence-based solutions Guide 21st century Learning. Neuro, 67(5), 685-688.
Cheng, Y. L. & Mix, K. S. (2014). Spatial Training Improves Children’s Mathematics Abilities. Journal of Cognition and Development, 15(1), 2-11.
Harvey, B. M. (2016). Quantity Cognition: Numbers, Numerosity, Zero and Mathematics. Current Biology, 26(10), R419-R421. doi:10.1016/j.cub.2016.03.059
Hawes, Z., Moss, J., Caswell, B. & Poliszczuk, D. (2015). Effects of mental rotation training on children’s spatial and mathematics performance: A randomized controlled study. Trends in Neuroscience and Education, 4(3), 60–68.
Krutetskii, V. A. (1976). The psychology of mathematical abilities in school children. Chicago: University of Chicago Press.
Nath, S., & Szücs, D. (2014). Construction play and cognitive skills associated with the development of mathematical abilities in 7-year-old children. Learning and Instruction, 32(1), 73-80.
Traff, U. (2013). The contribution of general cognitive abilities and number abilities to different aspects of mathematics in children. Journal of Experimental Child Psychology, 116(2), 139-156.
Wai, J., Lubinski, D., Benbow, C. P., & Steiger, J. H. (2010). Accomplishment in science, technology, engineering, and mathematics (STEM)and its relation to STEM educational dose: A 25-year longitudinal study. Journal of Educational Psychology, 102(4), 860-871.
Wolfgang, C.H., Stannard, L.L., and Jones, I. (2003). Advanced constructional play with LEGOs among preschoolers as a predictor of later school achievement in mathematics. Early Child Dev Care, 173(5), 467–475.