รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

Main Article Content

ทัศนีย์ นิลผึ้ง
สมศักดิ์ บุญปู่
อุทัย สติมั่น
อำนาจ บัวศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเสริมสร้างพลังอำนาจตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 ราย เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง ด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคล และการจัดทำสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 17 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 400 รูป / คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า


1.สภาพและปัญหาอุปสรรค พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ด้านนโยบายการเสริมสร้างพลังอำนาจ อยู่ในระดับมาก 4.35 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า มีการประเมินผลโครงการในการพัฒนาบุคลากร 4.45 รองลงมา คือ มีการคำนึงถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายหลักของโรงเรียน 4.44 และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ 4.23


2.แนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรม ที่สอดคล้องกับการเสริมสร้างพลังอำนาจตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ได้แก่ ทฤษฎีลำดับความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs) และสังควัตถุ 4 โดยการนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นหลักคิด เพิ่มความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานมีความเจริญเติบโตทั้งทางด้านพฤติกรรมจิตใจและปัญญา ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ของโรงเรียนอันนำมาซึ่งความอยู่รอด และจากแบบสอบถามหลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน


3. รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 พบว่า ขั้นตอนการบูรณาการกับสังคหวัตถุ 4 ผลที่ได้คือ บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ถูกวิธี มีประโยชน์ และถูกธรรม ขั้นการฝึกอบรมบูรณาการกับสังคหวัตถุ 4 ผลที่ได้ คือ ผู้บริหารจะได้รับการปรับพฤติกรรม เพิ่มความมั่นใจ มีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น และขั้นการพัฒนาบูรณาการกับสังคหวัตถุ 4 ผู้บริหารจะได้รับการพัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ พัฒนาความคิดหรือสติปัญญาในระดับที่สูงขึ้น เมื่อผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ผ่านรูปแบบการบูรณการตามหลักสังคหวัถุ 4 แล้ว ผู้บริหารจะเป็นผู้ประกอบไปด้วย T เป็นคนเก่ง G เป็นคนดี H เป็นคนมีความสุข ในระดับที่สูงขึ้น บรรลุตามแนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ทุกประการ

Article Details

How to Cite
นิลผึ้ง ท., บุญปู่ ส., สติมั่น อ., & บัวศิริ อ. (2019). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4), 2062–2078. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/192477
บท
บทความวิจัย

References

Lee, In – Sook, and Charles M. (1994). Empowering Teachers for New Roles in New Education System. Educational Technology.

นันท์นัทธฉัตร ศรีวิเศษ. (2558). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มณีรัตนา โนนหัวรอ. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของครูประจำการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. ใน ดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการทดสอบและการวัดผลการศึกษา . มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนตรี จุฒาวัฒนฑล. (2543). นโยบายการผลิตและการพัฒนครู สำนักงานปฏิรูปวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2556). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา . มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2545). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร.