ประสิทธิผล การป้องกันปราบปราม การตรวจสอบทรัพย์สิน ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

Main Article Content

วสันต์ เกตุพันธุ์
สมิหรา จิตตลดากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานโยบายการป้องกัน ปราบปราม การตรวจสอบทรัพย์สิน ด้วยภาระรับผิดชอบ ให้ได้ประสิทธิผล 2) เพื่อศึกษาการป้องกัน ปราบปราม การตรวจสอบทรัพย์สิน ด้วยความชอบธรรม ให้ได้ประสิทธิผล 3) เพื่อศึกษาผลกระทบ ปัญหา และการบริหารที่เหมาะสม ในการปฏิบัติการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดประสิทธิผล และความเชื่อมั่นของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการระดับบริหาร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จำนวน 3 ท่าน คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการอิสระ จำนวน 5 ท่าน และเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การระดมความคิด การสนทนากลุ่ม การเข้าร่วมสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม


           ผลการวิจัยพบว่า


  1. นโยบายการป้องกันปราบปราม การตรวจสอบทรัพย์สิน จะต้องยึดการปฏิบัติตามธรรมาภิบาล และให้ความสำคัญต่อจริยธรรมในวิชาชีพ ที่ อย่างมีเกียรติอันสง่างาม เป็นที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจ โดยการถือปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล

  2. การป้องกันปราบปราม การตรวจสอบทรัพย์สิน ด้วยความชอบธรรม หากประพฤติผิดต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือกระทำการทุจริต จะต้องได้รับการลงโทษตามกฎหมาย เป็นสองเท่าของอัตราโทษที่ได้กำหนดไว้

  3. ผลกระทบ ปัญหา และการบริหารที่เหมาะสม ประเด็นสำคัญควรใช้วิธีการในการดำเนินคดีแบบระบบไต่สวน ส่วนการพิจารณาสรรหา ควรให้บุคลากรในภาคส่วนอื่น ได้เข้ามาเพื่อการมีส่วนรวมเสนอชื่อในการสรรหา วาระที่น้อยลงกว่าที่กำหนดไว้ แต่ไม่ควรน้อยกว่า 4 ปี หรืออาจกำหนดให้หมดวาระ พร้อมกันกับการหมดวาระของรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัฐวัฒน์ ชัชณฐาภัฏฐ์. (2561). ความชอบธรรมกับการเปลี่ยนแปลงองค์การของกรมสอบสวนคดีพิเศษ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา (หน้า 14). มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ทิวากร แก้วมณี. (2561). การทบทวนแนวความคิดใหม่ Good Governance: Rethinking its Concept. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2561 จาก http://oknation.nationtv. tv/blog/dhiwakorn/2011/11/25/entry- 1.

ประสาน ไตรรัตน์วรกุล. (2562). ประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง : มิติใหม่ของรัฐวิสาหกิจไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.isranews. org/isranews-news/ .

ลีกิตคอมเปอร์เรชั่น. (2561). การบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2561 จาก https://sites.google.com/site/goodgovemaneinternalaudit/3-halk-khwam-rab-phid-chxb-.

ศรุดา สมพอง. (2561). การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สำหรับเด็กและเยาวชนในชั้นศาล. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2561 จาก http://www.djop.go.th/.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2561). ผลการดำเนินงานปราบปรามการทุจริต. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2561 จาก http://www.pacc.go.th/index.ph/.

สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา. (2561). องค์การอิสระ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบการทุจริต. เรียกใช้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.senate.go.th/.

เอกพร รักความสุข. (2560). ภาระรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐที่สามารถตรวจสอบได้ในการบริหารสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

Borgatti, Stephen P. & Foster Pacey, C. (2018). “The Network Paradigm in Change Management Model. เรียกใช้เมื่อ 25 September 2018 จาก https://www.slide team.net/

Goldsmith, Stephen & William D. Eggers. (2018). Governing by Networks: The New Government Trends Road Map. เรียกใช้เมื่อ 25 September 2018 จาก Of the Office of the Public Sector Development Commission (Kporn): https:// www.iap2.org/.

Merriam-Webster. (2009). Methods of Teaching STS Topic. In R. By bee, Ed., Science –Technology – Society 1985 NSTA yearbook. . Washington, DC: National Science Teacher Association.