การเสริมสร้างการจัดการอบรมเยาวชนค่ายคุณธรรม มองผ่านพุทธปรัชญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการอบรมเยาวชนค่ายคุณธรรมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาพุทธปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการอบรมเยาวชนค่ายคุณธรรม 3) เพื่อนำพุทธปรัชญามาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและการเสริมสร้างการจัดการอบรมเยาวชนค่ายคุณธรรมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการจัดการอบรมเยาวชนค่ายคุณธรรมที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางปรัชญาแบบวิภาษวิธี และแบบมีการหาเหตุผลด้วยการใช้วิจารณญาณ ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนที่ผ่านการจัดค่ายคุณธรรมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการค่ายคุณธรรม 2) พระวิทยากร 3) ครูอาจารย์ 4) เยาวชน และ 5) ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องหรือประชาชนทั่วไป โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจข้อมูล เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ปัญหาการจัดการอบรมเยาวชนค่ายคุณธรรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีหลายประการคือ 1) ปัญหาด้านหลักสูตร 2) ปัญหาด้านบุคลากร 3) ปัญหาด้านความร่วมมือระหว่างบ้าน/วัด/โรงเรียน 4) ปัญหาด้านกระบวนการฝึกอบรม 5) ปัญหาด้านสื่อและเทคโนโลยี และ 6) ปัญหาด้านการวัดประเมินผลและติดตามผล
- พุทธปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการอบรมเยาวชนค่ายคุณธรรม ได้แก่ 1) พุทธอภิปรัชญา ได้แก่ ขันธ์ 5 และไตรลักษณ์ 2) พุทธญาณวิทยา ได้แก่ ปัญญา 3 และกาลามสูตร 10 และ 3) พุทธจริยศาสตร์ ได้แก่ ศีล 5 กุศลกรรมบถ 10 มรรคมีองค์ 8 ไตรสิกขา ภาวนา 4 และ พละธรรม 4
- พุทธปรัชญาที่นำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและการเสริมสร้างการจัดการอบรมเยาวชนค่ายคุณธรรมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ขันธ์5 ไตรลักษณ์3 และพละธรรม4
- องค์ความรู้ใหม่ ได้แก่ การใช้มิติศาสนาสอดแทรกเป็นหลักสูตรการอบรมค่ายคุณธรรม เป็นการขัดเกลาจิตใจผู้เรียนให้รู้จักใช้ปัญญาเพื่อรู้เหตุ รู้ผล รู้ดี รู้ชั่ว มีสติในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขัน และแย่งชิงกันสูง ให้กายและจิตใจรู้คุณค่าต่อศีลธรรมที่มุ่งเน้นเป็นคนดีเพื่อพัฒนาด้านสังคมให้มีความสุข วิทยากรรู้จักการทำงานเป็นทีม (Teamwork) มีพลังความเพียรพยายาม ระดมร่วมคิดทำ เอาชนะปัญหา ขจัดอุปสรรคปัญหาไปด้วยกัน โดยใช้ความรู้ความสามารถเป็นกระบวนการที่มีนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานทุกประเภทอย่างเต็มศักยภาพ
Article Details
References
ยืน ภู่วรรณ และสมชาย นำประเสริฐชัย. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พระไพศาล วิสาโล. (2549). สุขภาพสังคม: ความขัดแย้ง ความรุนแรงกับระบบบริการสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.
พุทธทาสภิกขุ. (2543). ค่ายธรรมบุตร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานมูลนิธิ.
วงศถิตย์ วิสุภี. (2550). ค่ายคุณธรรมจริยธรรม: รูปแบบการจัดการที่เหมาะสมสำหรับเยาวชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 9. ใน ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระมหานภดล สุวณฺณเมธี (มีคำเหลือง). (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมเยาวชนของค่ายคุณธรรมวัดบรรพสถิต จังหวัดลำปาง . ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.