แนวทางการธำรงพระพุทธศาสนาในท่ามกลางความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้มองผ่านพระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก)

Main Article Content

จักรพงศ ธรรมธนภัทร
พระครูโกศลอรรถกิจ .
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล .
สวัสดิ์ อโณทัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความขัดแย้งและแนวคิดทฤษฎี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ในมุมมองของพระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก) และ 3) วิเคราะห์การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้มองผ่านพระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก) ได้ดำเนินการศึกษาโดยวิธีวิจัยเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถ กถา หนังสือ ตำรา เอกสาร สิ่งพิมพ์ทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และแหล่งข้อมูลออนไลน์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา เพื่อนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอแนะ


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความขัดแย้งและแนวคิดทฤษฎี ความหมายของการขัดแย้ง หมายถึง ไม่ลงลอยกัน คือการคัดค้าน ความปรารถนา ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ที่เกิดจากการรับรู้ ความคิด ความเชื่อ จุดประสงค์ หรือ เป้าหมายที่ไม่ตรงกัน อาจรวมไปถึงความรู้สึกด้วย มีทั้งด้านดีและด้านลบ ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา หรือ เป็นเรื่องของธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทุกวันในตัวเราเองคนเดียวในครอบครัว ชุมชน ในองค์กร ในประเทศของเรา

  2. แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ในมุมมองของพระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก)การก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัด การแก้ปัญหาของรัฐเป็นเพียงการแก้ไขที่มีการแอบแฝงเรื่องของผลประโยชน์หรือเปล่า พระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก) ผู้เป็นดั่งร่มโพธิ์ให้กับชาว 3 จังหวัดชายแดนใต้ ท่านให้ทั้งคำปรึกษา ทั้งแนวทางการแก้ปัญหา และให้การสงเคราะห์ ที่สำคัญและที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ เรื่องของการศึกษาพระธรรมสิทธิมงคล ท่านเน้นนักเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก ทั้งให้ทุนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป ทุกระดับชั้นก็ว่าได้

  3. วิเคราะห์การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้มองผ่านพระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก) พระภิกษุ สามเณร ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ในการทำกิจของสงฆ์และความเป็นอยู่ในวัดได้รับผลกระทบ ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหากับการปฏิบัติศาสนกิจ รวมไปถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จากประวัติของพระธรรมสิทธิมงคล(ฉิ้น โชติโก) จะเห็นได้ว่า ท่านสงเคราะห์ช่วยเหลือ ชาวบ้านผู้ยากไร้ การสนับสนุนการศึกษาไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ สามเณร เด็กเยาวชน โดยการมอบทุนการศึกษาทั้งจังหวัด โดยไม่มีเงื่อนไขทางด้านศาสนามาเกี่ยวข้องแต่ประการใด อย่างน้อยเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ให้น้อยลง ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ พระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก) ท่านกล่าวเสมอว่า ต้องให้การศึกษา คนเราเมื่อมีการศึกษาแล้ว ก็จะมีความเข้าใจ เมื่อมีความเข้าใจกัน รู้เขารู้เรา เมื่อมีความเข้าใจแล้ว ก็จะเกิดปัญญา ดังนั้น ปัญหาก็จะไม่เกิด ต่างคนต่างเข้าใจ เข้าใจในหลักการปฏิบัติ เข้าใจในวัฒนธรรมการเป็นอยู่

 

Article Details

How to Cite
ธรรมธนภัทร จ., . พ., . พ., & อโณทัย ส. (2019). แนวทางการธำรงพระพุทธศาสนาในท่ามกลางความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้มองผ่านพระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4), 1797–1812. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/186566
บท
บทความวิจัย

References

พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์. (2554). สุวรรณสามยอดกตัญญู. กรุงเทพมหานคร: หจก.ประยูรสาส์นการพิมพ์.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์. (2535). บทบาทหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

ไพฑูรย์ ศรีโฮง. (1 พฤศจิกายน 2547). ปัญหาความรุนแรง 3 จังหวัดใต้ท่องเที่ยวลงทุนวิกฤติ. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 51 ฉบับที่ 24 , หน้า 20.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อริศราวรรณ สมีดี. (2551). บทบาทของคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยสันติวิธี. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.