พุทธอรรถปริวรรตว่าด้วยศีล 5 กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพุทธปรัชญาว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม 2) เพื่อศึกษาพุทธอรรถปริวรรตว่าด้วยศีล 5 3) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้พุทธอรรถปริวรรตว่าด้วยศีล 5 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับศีล 5 และพุทธอรรถปริวรรตว่าด้วยศีล 5 ในคัมภีร์ปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎก และคัมภีร์ทุติยภูมิ เช่น คัมภีร์อรรถกถา และคัมภีร์ชั้นหลังในทรรศนะของนักปราชญ์ เช่น พระนาคเสน ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นต้น
ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมโดยอาศัยหลักศีล 5 และหลักการอรรถปริวรรตว่าด้วยศีล 5 สามารถทำให้ชีวิตมีคุณภาพและสังคมมีสันติสุข หากบุคคลให้ความสำคัญและปฏิบัติตนตามหลักศีล 5 อย่างจริงจัง หนักแน่น ประเด็นที่ควรคำนึง ศีลในพุทธปรัชญาต้องสอดคล้องกับหลักไตรสิกขา กล่าวคือ ศีลต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสมาธิและปัญญา ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เพราะศีล สมาธิ และปัญญา ต้องคอยค้ำจุนซึ่งกันและกัน องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากศึกษาวิจัย คือ การประยุกต์พุทธอรรถปริวรรตตามหลักการของศีล 5 ทำให้ครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนปลอดภัย และสังคมมีเมตตาปรองดอง ซึ่งมีความจำเป็นในสังคมปัจจุบัน
Article Details
References
กีรติ บุญเจือ. (2546). ย้อนอ่านปรัชญายุคกลางของมนุษยชาติช่วงแสวงหาเครือข่าย. กรุงเทพมหานคร: ฐานบัณฑิต.
คณิศร กิตติกรปรีดา. (2559). แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขตามหลักศีล 5: กรณีศึกษา ชุมชน พระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน(สันติศึกษา). กรุงเทพมหานคร, ดุษฎีนิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เดือน คำดี. (2534). พุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
พงษ์ศักดิ์ สนธิตระกูล. (2556). ศึกษาวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาจากการละเมิดเบญจศีลข้อที่ 5 ของเยาวชนไทยตามพุทธวิธี: กรณีศึกษายาเสพติด. กรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระณัฐกิตติ อนารโท (ผุยเหง้า). (2556). พัฒนาการการรักษาศีลของอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร, ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปิฎกจุฬาภัย. (2516). มิลินทปัญหา ฉบับพิสดาร. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.
พระมหาชัยณรงค์ วรญฺชโย (เทศสาย). (2558). การศึกษาเรื่องศีลในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร, พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2520). ศีลธรรมกับมนุษยโลก. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ.
พุทธทาสภิกขุ. (2546). มนุสสธรรม. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ.
พุทธทาสภิกขุ. (2549). ปัญหาแห่งมนุษยภาพ. สุราษฎร์ธานี ธรรมทานมูลนิธิ.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 11,25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยศ สันตสมบัติ. (2540). มนุษย์กับวัฒนธรรม (ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพมหานคร.
สมัคร บุราวาส. (2552). พุทธปรัชญา:มองพุทธศาสนาด้วยทรรศนะทางวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.
สวัสดิ์ อโณทัย. (2558). วิธีการสร้างความสุขตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเซนต์จอห์น, 18 (22) 166-167.
อนันตชัย จินดาวัฒน์. (2556). ประวัติศาสตร์โลก พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ยิปซีกรุ๊ป.
อำนวย ยัสโยธา. (2547). กาลามสูตร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ห.จ.ก. ภาพพิมพ์.
Eric Schmidt and Jared Cohen. (2557). he New Digital Age. ดิจิตอลเปลี่ยนโลก แปลโดย สุทธวิชญ์ แสงดาษดา. กรุงเทพมหานคร: โพสต์บุ๊ก.