กลยุทธ์การสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม

Main Article Content

สมชาติ ธรรมโภคิน
ศศิรดา แพงไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการสร้าง      แบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม และ 3) พัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนเอกชนสังกัดเขตตรวจราชการ ที่ 11 ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนรวมทั้งสิ้น 296 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นหรือชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินองค์ประกอบ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified     


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบการสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ชื่อเสียง (Reputation) 2) อัตลักษณ์ (Identity) 3) วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) 4) ความสัมพันธ์ (Relationship) 5) การรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) 6) บุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) 7) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

  2. สภาพปัจจุบันของการสร้างกลยุทธ์การสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด

          3. การพัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรคุณภาพ กลยุทธ์ที่ 2 การเสริมสร้างบุคลิกภาพของแบรนด์ กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาที่ยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 4 สร้างชื่อเสียงของโรงเรียนให้เป็นที่ประจักษ์ กลยุทธ์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Article Details

How to Cite
ธรรมโภคิน ส., & แพงไทย ศ. (2019). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 4119–4132. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/183813
บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. (2543). ระบบมาตรฐานและการประกันคุณภาพที่ดี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

จุมพล รามล. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแบรนด์โรงเรียนเอกชน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 11(1). 74-81.

นรรถสรรพ เล็กสู่. (2558). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะเด่นชัดเฉพาะของโรงเรียน สู่ความเป็นโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนยอดนิยมในภาคใต้. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(ฉบับพิเศษ), 191-202.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2556). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2556-2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

อรอุษา ปุณยบูรณะ. (2558). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสาธิต. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุทัย ดุลยเกษม. (2547). ยุทธศาสตร์สังคมไทยในการสร้างวิถีแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าคุรุสภา.

Aaker David A. (2002). Building Strong Brands. Bath: CPI Bath Press.

Bartell M. (2003). Internationalization of universities: A university culture-based framework. Higher Education, 45(1), 43-70.

DiMartino C and Jessen SB. (2016). School brand management: The policies, practices, and perceptions of branding and marketing in New York City’s public high schools. SAGE journals, 51(5), 447-475.

Goh E. & Dolnicar S. (2006). Choosing a primary school in Australia: eliciting choice deter mining factors using the theory of planned behavior. Paper presented at the he Conference on Global Governance Educational Change & Cultural Ecology. Canberra : Australian National University.

Kazoleas Dean Kim Yungwook &Moffit Mary Anne. (2001). Institutional Image: A Case Study.Corporate Communication. An International Journal, 6(4), 205-216.

Melewar T.C. Akel S. (2005). The role of corporate identity in the higher education sector: a case study. Corporate Communications, 10(1), 41-57.

Mount Joan & Belanger Charles H. (2004). Entreneurship and Image Management in Higher Education: Pillars of Massification. The Canadian Journal of Higher Education, 34(2), 125-140.

Wongkritrungruang W. (2005). From world to Thailand, a new direction of learning into the 21st century. Retrieved August 12, 2019, from https:// thaipublica.org / 2015 / 03 /education-forthe-future_1 (in Thai).