การสื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) หลักฐานเชิงประจักษ์ บริษัท แพรคติก้า จำกัด

Main Article Content

ธนารัฐ ฉ่ำสุริยา
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อสารภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของบริษัท แพรคติก้า จำกัด 2) ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานบริษัท แพรคติก้า จำกัด 3) ระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของบริษัท แพรคติก้า จำกัด 4) การสื่อสารภายในองค์กรและความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานบริษัท แพรคติก้า จำกัดที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ประชากรในการศึกษา คือ พนักงาน บริษัท แพรคติก้า จำกัด จำนวน 330 คน โดยทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามพนักงานบริษัททุกคน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า การสื่อสารในองค์กร ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ด้านการรับฟังการสื่อสารจากล่างขึ้นบน มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยการสื่อสารด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมากที่สุด รองลงมา เป็นการรับฟังการสื่อสารจากล่างขึ้นบน และการสนับสนุนซึ่งกันและกันตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าความเข้าใจในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของพนักงานมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยการวิเคราะห์สามารถอธิบายการผันแปรได้ร้อยละ 62.6

Article Details

How to Cite
ฉ่ำสุริยา ธ., & เชียรวัฒนสุข ก. (2019). การสื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) หลักฐานเชิงประจักษ์ บริษัท แพรคติก้า จำกัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1217–1231. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/176865
บท
บทความวิจัย

References

ณัฎฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2554). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เบญจวรรณ แจ่มจํารุญ. (2557). ปัจจัยบรรยากาศในการสื่อสารภายในองค์กร กระบวนการในการสื่อสาร และสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในองค์กรของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รสชงพร โกมลเสวิน. (2546). “พฤติกรรมการสื่อสารองค์กร” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร.หน่วยที่ 9. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรัตน์ ตรีสุกล. (2549). หลักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนา.

Besterfield, D. H., Besterfield-Michna, C., Besterfield, G. H. and Besterfield-Sacre, M. (1999). Total Quality Management (2nd ed). Mexico: Printice-Hall.

Luthans, F. (1973). Organization Behavior a Modern Behavior Approach to Management. New York: McGraw-Hill.

Pace, Wayne R. and Faules, Dan F. (1994). Organizational communication. New Jercy: Prentice Hall,Englewood Cliffs.

Roger, E.M.; & Roger, R.A. (1976). Communication in Organization. New York: Free Press.

Szentendre. (1996). Public Participation Training Module. Hungary: The Regional Environmental Center.

Vonk and Jeff. (2005). “Process Improvement in Business Permits through Kaizen . Spectrum: Journals of State Government, 78(2), pp.33-34.