ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ วัดหงส์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ วัดหงษ์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ วัดหงษ์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน และ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ วัดหงษ์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 550 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จำนวน 226 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ,ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่า t–test, ค่า F-test และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ตามวิธีการ LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า
- ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุวัดหงส์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยรวม อยู่ในระดับมาก (
=3.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปิยะวาจา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (
=4.08) รองลงมา คือ ด้านทาน (
= 4.06) และด้านอัตถจิรยา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (
= 3.97) และเมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ วัดหงษ์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน พบว่า พุทธศาสนิกชนที่มีอายุต่างกัน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพุทธศาสนิกชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ วัดหงส์ประดิษฐาราม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ วัดหงส์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พุทธศาสนิกชนได้เสนอแนะการให้บริการด้านทาน มากที่สุด ได้แก่ วัดควรส่งเสริมและจัดกิจกรรมให้มีการทำบุญตักบาตร ให้ทาน ในวันสำคัญต่างๆ รองลงมา วัดควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในงานพิธี เช่น เต้นท์ เก้าอี้ ควรมีระเบียบการพิธีการให้ชัดเจนและเป็นไปในทางเดียวกัน
Article Details
References
ธิดารัตน์ ศิละวรรณโณ. (2553). ความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักสังคหวัตถุ 4 กรณีศึกษา เขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดวันชาติ วิชาโต (ยอดดำเนิน). (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของวัดนครสวรรค์ตามหลักสังคหวัตถุ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระณปวร โฆสิตธมฺโม (โทวาท). (2553). ทัศนะของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีอนามัยในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุรศักดิ์ สติสมฺปนฺโน (พันธ์จันทร์) . (2553). ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาตามหลักสังคหวัตถุ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสักชัย จิตฺตสุโภ (ลุ่ยดี). (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มณีนุช ไพรดี. (2552). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท พรอพเพอร์ตี้ แคร์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (P.C.S.). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชันย์ ธงชัย. (2551). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการในการลงบัญชีทหารกองเกินตามแนวสังคหวัตถุ 4 ของหน่วยงานสัสดีอำเภอเมือง จังหวัดระยอง, . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ส่งศรี ชมพูวงศ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย .
สมหมาย บัวจันทร์. (2551). การวิเคราะห์และยกระดับความพึงพอใจในการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.