การประยุกต์หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหาร เทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา

Main Article Content

กันตภณ หนูทองแก้ว
พระครู ปริยัติกิจจาภิรม

บทคัดย่อ

 บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา ของประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ ต่างกัน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการประยุกต์หลักทศพิธราชธรรมไปใช้ในการบริหารงานของเทศบาลเมือง สิงหนคร จังหวัดสงขลา


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. การนำหลักทศพิธราชธรรมไปใช้ในการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลเมือง สิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยรวมทั้ง 10 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านศีล คือ ความประพฤติดีงามและด้านอวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านอาชชวะ คือ ความซื่อตรงและด้านมัททวะ คือ ความอ่อนโยน ส่วนด้าน ตปะ คือ ความเพียร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง

  2. ผลการเปรียบเทียบการนำหลักทศพิธราชธรรมไปใช้ในการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา ของประชาชนที่มี อาชีพ ต่างกัน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ ต่างกัน พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะการนำหลักทศพิธราชธรรมไปใช้ในการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา พบว่า ปัญหา คือ การสงเคราะห์ประชาชนในชุมชนยังมีน้อย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวมและขาดความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่ แนวทางแก้ไข คือ ควรสงเคราะห์บุคคลในชุมชน ได้แก่ เด็ก สตรี และคนชรา ควรให้การช่วยเหลือ สงเคราะห์ประชาชนอย่างเสมอภาคโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังและควรส่งเสริมความซื่อสัตย์และมีความโปร่งใสในการบริหารงาน

Article Details

How to Cite
หนูทองแก้ว ก., & ปริยัติกิจจาภิรม พ. (2017). การประยุกต์หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหาร เทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4(1), 47–61. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/153193
บท
บทความวิจัย

References

นำศักดิ์ คงนุ่น. (2550). การใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.

ปฏิคม นวลละออง. (2553). การใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระพิจิตรธรรมพาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน). (2552). ธรรมวาทะ-ข้อคิด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงการพิมพ์.

พระราชญาณวิสิฐ. (2552). หลักธรรมาภิบาล และประมุขศิลป์: คุณลักษณะความเป็นผู้นาที่ดี พิมพ์ครั้งที่ 6. ราชบุรี: โรงพิมพ์มูลนิธิพุทธภาวนาวิชาธรรมกาย.

รัชนีกร เศรษโฐ. (2532). โครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.

สุรินทร์ คงเกิด. (2549). ศึกษาการนำหลักทศพิธราชธรรมไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารเทศบาลตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

อรณี ฝูงวรรณลักษณ์. (2538). การเปิดรับ การคาดหวังประโยชน์ และความพึงพอใจ ในรายการธรรมะทางสื่อโทรทัศน์ของสมาชิกชมรมทางพระพุทธศาสนา ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.