การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องหนังตะลุงภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาเนื้อเรื่องของหนังตะลุงในภาคใต้ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของหนังตะลุงในภาคใต้ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยศึกษาข้อมูล เอกสาร เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ และการสัมภาษณ์ เพื่อนำเนื้อหามาวิเคราะห์ตามขอบเขตของการวิจัยที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในทางวิชาการและคณะศิลปินการแสดงหนังตะลุง
ผลการวิจัยพบว่า
- หนังตะลุงในภาคใต้ มีแบบแผนการแสดงมาจากอินเดีย โดยเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ในยุคอาณาจักรศรีวิชัย โดยทางตรง เข้ามาทางฝั่งทะเลตะวันตกแถบจังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา และจังหวัดกระบี่ ส่วนทางอ้อมเข้ามาสู่ชวา มลายู และฝั่งทะเลด้านตะวันออกของไทย เชื่อกันว่าหนังตะลุงน่าจะเกิดขึ้นที่บ้านควนมะพร้าว จังหวัดพัทลุง หลังจากนั้นก็ได้แพร่ไปยังจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดตรัง เป็นต้น โดยมีผู้ให้ความเห็นไว้ว่า ที่รัฐทมิฬนาดู ในอินเดียใต้ มีพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งชื่อ ทักษิณจิตรา มีการจัดแสดงตัวหนังตะลุงโบราณ โดยเรียกว่า “โตลุงกุ” ในปัจจุบันการแสดงชนิดนี้ไม่มีที่รัฐทมิฬนาดูแล้วแต่มีการแสดงที่ รัฐเกราลา โดยเรียกศิลปะการแสดงชนิดนี้ว่า “โตลปาวากูตู” ตัวหนังทำจากหนังกวาง แสดงโดยมีจอผ้าสีขาว แบบเดียวกับหนังตะลุงในภาคใต้ของไทย คำว่า “หนังตะลุง” ในภาคใต้ของไทย สันนิษฐานได้ว่า มิใช่ชื่อเรียกที่เกิดขึ้นใหม่แต่เป็นชื่อเดิม ซึ่งรับมาจากอินเดียโดยตรง คือ “โตลุงกุ” นั่นเอง
- เนื้อเรื่องของหนังตะลุงในภาคใต้ที่ศึกษา มีลักษณะเป็นจินตนิยาย คือ เป็นการแสดงตามเนื้อเรื่องที่ได้แต่งขึ้นโดยนายหนังแต่ละคณะ หรือมีผู้แต่งให้ ตัวละครในเนื้อเรื่องมักประกอบด้วย เจ้าเมืองหรือกษัตริย์ พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา ของแต่ละเมือง และสถานที่อื่นๆ ตลอดทั้งตัวแสดงอื่นๆ มาประกอบด้วย ลักษณะเด่นของหนังตะลุง คือ มีตัวตลก แต่ละเมือง ลักษรชโอรส หรือพระราชธิดา ของแต่ละเมือง ลักษระเด่นของหนังตศรีธรรมราช สงขลา และตรัง เป็นต้นเช่น ไอ้เท่ง ไอ้หนูนุ้ย ไอ้ขวัญเมือง เป็นต้น จึงทำให้ผู้ชมติดตามการแสดงเนื้อเรื่องของหนังตะลุงโดยไม่รู้สึกเบื่อ
- หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในเนื้อเรื่องหนังตะลุงที่ศึกษา พบว่า มีนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาปรากฏอยู่สามารถประมวลได้ดังนี้ มีหลักธรรมเพื่อชีวิตและครอบครัว หลักธรรมเพื่อความสัมพันธ์ในสังคม หลักธรรมเพื่อความอยู่ดีทางเศรษฐกิจ และหลักธรรมเพื่อความหลุดพ้น(โลกุตรธรรม) โดยพบว่า มีหลักธรรมเพื่อชีวิตและครอบครัวและหลักธรรมเพื่อความสัมพันธ์ในสังคมมากที่สุด รองลงมาคือ หลักธรรมเพื่อความหลุดพ้น(โลกุตรธรรม) และหลักธรรมเพื่อความอยู่ดีทางเศรษฐกิจ เป็นหลักธรรมที่น้อยที่สุด
Article Details
How to Cite
ธรรมชาติ ส., สงสาป พ., & ปาณะศรี ส. (2016). การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องหนังตะลุงภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 3(1), 77–92. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/152994
บท
บทความวิจัย
References
พระมหาอนุรักษ์ อภิรกฺโข. “หนังตะลุงกับการเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน : กรณีหนังตะลุง
คณะสุรเชษฐ์ บันเทิงศิลป์ จังหวัดนครศรีธรรมราช”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร
คณะสุรเชษฐ์ บันเทิงศิลป์ จังหวัดนครศรีธรรมราช”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร