ภูมิปัญญาในการแปรรูปปลาเปรี้ยวเพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพปลาเปรี้ยว หมู่ที่ 3 บ้านห้วยหมก ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาในการแปรรูปปลาเปรี้ยวเพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพปลาเปรี้ยว หมู่ที่ 3 บ้านห้วยหมก ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
- ภูมิปัญญาในการแปรรูปปลาเปรี้ยว กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพปลาเปรี้ยว หมู่ที่ 3 บ้านห้วยหมก ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1) กรรมวิธีการทำปลาเปรี้ยว วิธีเลือกปลาส่วนใหญ่จะใช้ปลาน้ำจืดในการแปรรูปปลาเปรี้ยว เนื่องจากปลาน้ำจืดเป็นปลาที่สามารถหาได้ในพื้นที่ของชุมชนบ้านห้วยหมก วิธีการทำเริ่มจากการนำปลาน้ำจืดมาล้างน้ำให้สะอาด ผ่าปลาออกเป็น 2 ส่วน เอาไส้ปลาออก และนำปลาที่ผ่าแล้วมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นใส่ลงไปในถังวางเป็นชั้น ๆ โรยเกลือลงไปในถัง ทิ้งค้างไว้ประมาณ 1 คืน จากนั้นนำปลาที่แช่ไว้ในถัง ออกมามาล้างน้ำให้สะอาด นำปลามาผสมกับข้าวคั่ว และน้ำตาลทรายแดง แล้วจึงนำมาใส่ในขวดโหลทิ้งไว้ 4-5 วัน จึงจะนำมารับประทานได้ 2) ทางกลุ่มปลาเปรี้ยว บ้านห้วยหมกมีกรรมวิธีในการทำปลาเปรี้ยว จนเป็นเอกลักษณ์ และรสชาติเฉพาะ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค
- แนวทางการส่งเสริมสินค้าชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพปลาเปรี้ยว หมู่ที่ 3 บ้านห้วยหมก ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1) มีแนวทางส่งเสริมในการใช้สื่อออนไลน์ 2) การผลิตสินค้าต้องมีความต่อเนื่อง ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค วัตถุดิบจะต้องมีคุณภาพ และสินค้าต้องสะอาดอยู่เสมอ 3) มาตรฐาน และคุณภาพที่ดีต้องมีฉลากสินค้าที่ให้ดูวัน เดือน ปี ที่ผลิต และวันหมดอายุ
Article Details
How to Cite
มัทมิฬ ป., เดโชชัย อ., ดำรงวัฒนะ จ., & แขน้ำแก้ว เ. (2015). ภูมิปัญญาในการแปรรูปปลาเปรี้ยวเพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพปลาเปรี้ยว หมู่ที่ 3 บ้านห้วยหมก ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2(1), 33–41. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/152993
บท
บทความวิจัย
References
จรรยา ชำนาญคำ. (3 กุมภาพันธ์ 2559). (ประธานกลุ่มอาชีพปลาเปรี้ยว หมู่ที่ 3 บ้านห้วยหมก ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช). (สัมภาษณ์ 3 กุมภาพันธ์ 2559).
คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ. (2547). แนวคิดสินค้าชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2559 จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcm s/files
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง . (2528). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญา. กรุงเทพมหานาคร: สำนักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ และมหาวิทยาลัยสยาม.
คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ. (2547). แนวคิดสินค้าชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2559 จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcm s/files
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง . (2528). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญา. กรุงเทพมหานาคร: สำนักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ และมหาวิทยาลัยสยาม.