การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการคบคนพาลของนางจิญจมาณวิกา ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูสิริ ธรรมาภิรัต
ธิดารัตน์ เพียรดี
พระครูรัตน สุตากร

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง  “การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการคบคนพาลของนางจิญจมาณวิกา  ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา”  มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาโทษของการคบคนพาล  ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาชีวประวัติของนางจิญจมาณวิกาที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆ  ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ (3) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการคบคนพาลของนางจิญจมาณวิกา  ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา


ผลการวิจัยพบว่า


การคบคนพาลเป็นเหตุให้ผู้คบหาถูกชักนำไปในทางที่ผิด ทำให้กลายเป็น คนพาลอย่างคนที่ตนคบ เพราะคบคนเช่นใดก็เป็นเช่นนั้น แม้มิได้ทำความชั่ว แต่เกลือกกลั้วกับผู้ทำบาป ย่อมถูกระแวงสงสัยในกรรมชั่ว ถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป เกิดความหายนะ การงานล้มเหลว ได้รับภัยอันตรายจนถึงความพินาศ เสื่อมจากประโยชน์ในโลกทั้งสอง คือ ทั้งโลกนี้ และโลกหน้า เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมมีอบายภูมิเป็นที่ไป


นางจิญจมาณวิกา เป็นสตรีโฉมงามในสมัยพุทธกาลที่มีประวัติน่าสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์มาตั้งแต่อดีตชาติ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันชาติ โดยเป็นความเกี่ยวข้อง ในทางที่ไม่ดีนัก ดังปรากฏชัดเจนในมหาปทุมชาดก เนื่องจากนางได้ใส่ร้ายป้ายสีพระโพธิสัตว์ให้ถูก ประหารชีวิต หรือในจูฬปทุมชาดก นางได้เกิดเป็นพระชายาของพระโพธิสัตว์ แต่นางแอบเป็นชู้กับโจร แล้ววางแผนทำร้ายพระโพธิสัตว์ หรือชาติที่นางได้เกิดเป็นนางอมิตตตาปนา นางก็ยังคิดอุบายให้ชูชกไปทำร้ายพระโพธิสัตว์ถึงเขาวงกต ครั้นถึงปัจจุบันชาติก็มีเหตุให้นางจิญจมาณวิกาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับคนพาลกลุ่มหนึ่ง คือ เดียรถีย์ จึงถูกชักจูงจิตใจให้ทำลายเกียรติคุณของพระพุทธองค์ด้วยเรื่อง ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังพรรษาที่ 7 และมีการกระทำเป็นขบวนการเพราะนาง ได้รับการสนับสนุนจากเหล่าสาวกเดียรถีย์อยู่ตลอดเวลา ส่วนนางจิญจมาณวิกาก็เป็นเพียงเครื่องมือ ของคนใจพาล


         ผลกระทบจากการคบคนพาลของนางจิญจมาณวิกาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พบว่า  เกิดความเสียหายแก่นางจิญจมาณวิกาเอง คือ ถูกชักนำไปในทางที่ผิด เพราะการได้พยายาม  สร้างสถานการณ์เท็จให้สาธุชนเข้าใจผิด แล้วมิได้กลับบ้านเป็นเวลา 1-2 เดือน ทำให้นางเป็นผู้บกพร่อง ในหน้าที่ความเป็นลูกที่ดี เสื่อมจากความเจริญก้าวหน้าในชีวิต และกลายเป็นคนพาลตามอย่างเดียรถีย์ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ที่ซ้ำร้ายยังได้รับทุกข์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เมื่อนางจิญจมาณวิกาได้กระทำกรรมไม่ดีต่อ พระพุทธองค์ ส่งผลให้นางได้รับทุกข์แบบปัจจุบันทันตาเห็น ถูกธรณีสูบลงสู่นรกอเวจี ในขณะเดียวกัน เดียรถีย์ทั้งหลายก็เสื่อมสิ้นคนนับถือ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากแร้นแค้นยิ่งกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำของนางจิญจมาณวิกาก็มีส่วนทำให้พระพุทธศาสนาโดดเด่นยิ่งขึ้น เหมือนสีดำทำสีขาวให้ สว่างมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ธรรมาภิรัต พ., เพียรดี ธ., & สุตากร พ. (2016). การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการคบคนพาลของนางจิญจมาณวิกา ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 3(1), 61–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/152990
บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 6. นครปฐม :
โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธ
องค์แหล่งที่มา https://www.onab.go.th/?option=com_content&viewview
=article&id=5530%3A-2600-&catid=96%3A2009-09-19-10-13-59&Itemid=326 [28 มิ.ย.2556].

ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข. ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : ภูมิปัญญา, 2546.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. มงคลชีวิต ฉบับทางก้าวหน้า. กรุงเทพมหานคร : ฐานการพิมพ์, 2547.

พระมหาสมปอง มุทิโต. คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, 2542.

พระครูสิริเจติยานุกูล (นิกร สอนปัน). “ผลกระทบจากการคบคนพาลในพระสุตตันตปิฎก”. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

พระสิริมังคลาจารย์ (ศรีปิงเมือง). มังคลัตถทีปนี แปล เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร :มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2540.

อ่อน บุญพันธุ์, น.ต. ที่พึ่งของคน. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ์, ม.ป.ป..

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). มงคลยอดชีวิต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, 2546.