การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในเพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิ
พระครูวินิจ ธรรมานุกูล
พระครู อุทัยวินัยกิจ
พระครูโสภณ ธรรมประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของเพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา 2. เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในเพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา และ 3. เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของเพลงเรือแหลมโพธิ์ ที่มีต่อชาวจังหวัดสงขลาดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และหลักพุทธธรรมจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. เพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา เป็นเพลงที่ประกอบด้วยกลอนแปด ที่พุทธศาสนิกชน ในพื้นที่แต่งขึ้น เพื่อใช้ร้องเล่นในงานเทศกาลชักพระในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในการชักพระทางน้ำ

  2. ผลการวิเคราะห์พุทธธรรมแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ พุทธธรรมขั้นมูลฐาน พุทธธรรมขั้นกลาง พุทธธรรมขั้นสูง และพุทธธรรมที่เป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

  3. คุณค่าของเพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา มี 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านวัฒนธรรมประเพณี 2) ด้านการเมือง 3) เศรษฐกิจ 4) ด้านจริยธรรม 5) ด้านความบันเทิง และ 6) ด้านสิ่งแวดล้อม

Article Details

How to Cite
ทิพย์ศรีนิมิ น., ธรรมานุกูล พ., อุทัยวินัยกิจ พ., & ธรรมประดิษฐ์ พ. (2015). การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในเพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2(1), 60–66. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/152987
บท
บทความวิจัย

References

พระมหาเจริญ เตชปญญฺโญ. (2522). ประวัติของแหลมโพธิ์. สงขลา.

สนิท บุญฤทธิ์. (2532). เพลงเรือแหลมโพธิ์ สงขลา พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: โรงพิมพ์เมืองสงขลา.