ศึกษาประเพณีงานศพของชาวไทยพุทธท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประเพณีงานศพของชาวไทยพุทธท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2. เพื่อศึกษาปริศนาธรรมที่ปรากฏในประเพณีงานศพของชาวไทยพุทธท้องถิ่นอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 3. เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการเปลี่ยนแปลงของประเพณีงานศพชาวไทยพุทธท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ นำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเขียนพรรณนาพร้อมเสนอแนวคิดของผู้วิจัยโดยมุ่งตอบวัตถุประสงค์และปัญหาที่ต้องการทราบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. พิธีการจัดงานศพของประชาชนชาวไทยพุทธท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมาสู่ยุคปัจจุบันที่มีความเจริญของสังคมและค่านิยมของเจ้าภาพเองที่ได้เปลี่ยนไปเพื่อให้การจัดงานศพได้มีความสะดวกและรวดเร็วของงาน ทำให้คนในท้องถิ่นบางส่วนลืมพิธีกรรมเก่าแก่ที่โบราณได้ยึดถือปฏิบัติมา แต่ก็เป็นการประยุกต์งานให้เข้ากับยุคและค่านิยมที่เปลี่ยนไปโดยยังยึดหลักการเอาไว้บางส่วนเพื่อไม่ให้สูญหายไปทั้งหมดในปัจจุบันนี้
- 2. ปริศนาธรรมที่ปรากฏในประเพณีงานศพของชาวไทยพุทธท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า เป็นปริศนาธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติเกี่ยวกับการตายและประเพณีที่เกี่ยวกับการจัดพิธีกรรมงานศพ ซึ่งแต่ละขั้นตอนของการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับผู้ตายล้วนแต่แฝงไปด้วยปริศนาธรรมทั้งสิ้นสามารถสรุปเกี่ยวกับปริศนาธรรมดังนี้ 1. ปริศนาธรรมเกี่ยวกับการอาบน้ำศพ 2. ปริศนาธรรมเกี่ยวกับรดน้ำศพ 3. ปริศนาธรรมเกี่ยวกับการหวีผมศพ 4. ปริศนาธรรมเกี่ยวกับการเบิกโลง 5. ปริศนาธรรมเกี่ยวกับการนุ่งผ้าและสวมเสื้อให้ศพ 6. ปริศนาธรรมเกี่ยวกับการใส่เงินในปากศพ 7. ปริศนาธรรมเกี่ยวกับการมัดศพ (มัดตราสัง) 8. ปริศนาธรรมเกี่ยวกับโลงแตก 9. ปริศนาธรรมเกี่ยวกับการทำโลงศพ 10.ปริศนาธรรมเกี่ยวกับตามไฟปลายเท้าศพ
- วิเคราะห์พัฒนาการประเพณีงานศพของชาวไทยพุทธท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดพิธีกรรมงานศพ วิเคราะห์แล้ว พบว่ามีสาเหตุมาจากการที่คนในชุมชมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากขึ้น วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดค่านิยมแบบใหม่ที่คำนึงถึงความสะดวกสบายมากกว่าความสามัคคี ส่วนในระดับชุมชนก็มีระบบการรวมกลุ่มเพื่อการจัดสรรผลประโยชน์จากการตายทำให้เกิดเงินทุนหมุนเวียน ประกอบกับระบบการศึกษาที่เจริญขึ้นของพระสงฆ์รวมทั้งบทบาทของผู้นำชุมชนอันมีปัจจัยทางการเมืองเป็นเบื้องหลัง และค่านิยมของเจ้าภาพงานศพที่ต้องการความทัดเทียมกับผู้อื่น จึงส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายตามประสบการณ์ที่ได้รับมาของผู้ที่มีหน้าที่ชี้นำชุมชน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่างท้องถิ่น และด้วยกระแสของโลกทุนนิยมที่ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบตัวแทน ล้วนแต่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการจัดพิธีศพในชาวไทยท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาทั้งสิ้น
Article Details
How to Cite
โกศลอรรถกิจ พ., & อภิชาตปัญญาภรณ์ พ. (2017). ศึกษาประเพณีงานศพของชาวไทยพุทธท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4(2), 65–82. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/152986
บท
บทความวิจัย
References
ดนัย ไชยโยธา. (2538). ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
นิตยา บุญสิงห์. (2546). วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิมพ์ลักษณ์.
ประชิด สกุณะพัฒน์. (2548). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พิมพ์ลักษณ์.
นิตยา บุญสิงห์. (2546). วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิมพ์ลักษณ์.
ประชิด สกุณะพัฒน์. (2548). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พิมพ์ลักษณ์.