ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเพณีชักพระ ในเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พระครู จิตตสุนทร
พระสิทธิโชค อคฺคธมฺโม จันทร์ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเพณีชักพระในเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อประเพณีชักพระในเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ของประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และนับถือศาสนา ต่างกัน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมประเพณีชักพระของประชาชนในเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 20,591 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็ซซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 377 คน


 


             ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเพณีชักพระในเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความเชื่อทางพระพุทธศาสนา กับด้านคุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่วนด้านการละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และเมื่อพิจารณาโดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และนับถือศาสนา โดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และเมื่อพิจารณาโดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และนับถือศาสนา โดยรวม อยู่ในระดับมาก

  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเพณีชักพระในเทศบาลเมือง ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประเพณีชักพระ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนประชาชนที่นับถือศาสนาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประเพณีชักพระ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประเพณีชักพระ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมประเพณีชักพระในเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ประชาชนมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมประเพณีชักพระ มากที่สุดได้แก่ ด้านองค์ประกอบของเรือพระ ข้อที่ว่าควรใช้วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
จิตตสุนทร พ., & จันทร์ศิริ พ. อ. (2017). ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเพณีชักพระ ในเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4(2), 16–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/152971
บท
บทความวิจัย

References

ประชิด สกุณะพัฒน์. (2546). วัฒนธรรมพื้นบ้านและประเพณีไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภูมิปัญญา.

ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองปากพนัง . (2556). แผนพัฒนาสามปี 2557 – 2559. แผนพัฒนาสามปี 2557 – 2559. ปากพนัง, นครศรีธรรมราช, ภาคใต้: เทศบาลเมืองปากพนัง.

วิเชียร ณ นคร และคณะ. (2521). นครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สัญญา วัชรพันธ์. (2535). วัฒนธรรมที่ปรากฏในประเพณีลากพระเดือน 11 ของชาวสงขลา. สงขลา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2542). ลากพระ สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่มที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามเพรส แมเนจเม้นท์.