การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก มีประชากร ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดนครนายก ประกอบด้วย อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอองครักษ์ อำเภอปากพลี จำนวน 264,162 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 399 คน โดยทำการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ (Tora Yamane , 1973) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1) การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
2) การพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครนายก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาและส่งเสริมความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพให้สังคมมีความสงบสุข อยู่ในระดับมาก การส่งเสริมการบริการทางการแพทย์ ศูนย์สุขภาพแบบองค์รวม อยู่ในระดับมาก และการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก สินค้า บริการ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
3) การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาท้องถิ่น ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับผลประโยชน์ ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 84.40
Article Details
References
กรมการปกครอง . (2559). ข้อมูลจากระบบสถิติทางการทะเบียน.
จริญญา จันทร์ทรง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธนี.
จารุณี พันธุ์เสงี่ยม. (2550). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของสมาชิกชุมชนร่วมจิตร่วมในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาประยุกต์ : คณะสังคมวิทยาและมานุษย์วิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เจษฎา ไชยทน. (2550). การบริหารจัดการบริการสาธารณะ ในพื้นที่การเกษตรลุ่มแม่น้ำอิงขององค์การบริหารส่วนตำบลครึ่งและองค์การบริหารส่วนตำบล ห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
ณัฐพร ดอกบุญนาค. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวกรณีศึกษาชุมชนในตลาดร้อยปีสามชุกอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. จังหวัดสุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ปวีณา วีรยางกูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรทิพย์ ทับแว่ว. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พีรพัฒน์ เก้ากัญญา. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับประสิทธิผลในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สถาบันเพื่อความเข้มแข็งให้ชุมชน. (2552). กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. จังหวัดพิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร .
สมคิด ศรีสิงค์. (2557). ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. จังหวัดพิษณุโลก: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
สมบูรณ์ ธรรมลงกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต : สาขาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
สรายุทธ คานและคณะ. (2560). รูปแบบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน กรณีศึกษาโครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น. เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
อุทัยวรรณ ลิมปชยาพร. (2551). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวศึกษาเฉพาะกรณีบึง บอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.