พุทธจริยธรรมที่ปรากฏในประเพณีลากพระเดือนห้า เมืองอลอง นครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีลากพระเดือนห้าเมืองอลอง นครศรีธรรมราช 2. เพื่อศึกษารูปแบบและพิธีกรรมเชิงพุทธในประเพณีลากพระเดือนห้าเมืองอลองนครศรีธรรมราช 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยธรรมและคุณค่าของประเพณีลากพระเดือนห้า เมืองอลอง นครศรีธรรมราช ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชนและสังคมดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยค้นคว้าจากเอกสารคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา รวมถึงหนังสือตำรา เอกสารงานวิจัย และจากการการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
- ประเพณีลากพระเดือนห้าเมืองอลอง นครศรีธรรมราช มีมาตั้งแต่อดีตเป็นประเพณีจัดเป็นกิจกรรมการกุศลของวัด
- รูปแบบและพิธีกรรมเชิงพุทธมีการเตรียมเรือพระ ตั้งบน “หนวนไม้” ประกอบเป็นบุษบกมีกนกลายประดับ ทำบุญตักบาตรไหว้พระรับศีล ถวายข้าวสงฆ์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5
- ผลการวิเคราะห์พุทธจริยธรรมที่เห็นได้ชัด คือ 1. กฎแห่งกรรม 2. ความโอบอ้อมอารี3. ความสามัคคี ส่วนคุณค่าของประเพณี คือ 1. คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม2. คุณค่าทางเศรษฐกิจและ 3. คุณค่าทางศาสนา
Article Details
How to Cite
ธรรมชาติ ส., & วิศาลธรรมจารี พ. (2015). พุทธจริยธรรมที่ปรากฏในประเพณีลากพระเดือนห้า เมืองอลอง นครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2(1), 8–15. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/137792
บท
บทความวิจัย
References
ทรงคุณวุฒิ จะทำให้เยาวชน และบุคลากรเกิดการเรียนรู้ และซึมซับคุณธรรม จริยธรรม. (2558). บันเทิง พาพิจิตร. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2558 จาก ประเพณีวัฒนธรรมไทยและคติความเชื่อ: http://www.ประเพณีไทย.com/ประเพณีไทย
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2542). ลากพระ ใน สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. 2542. เล่มที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามเพรส แมเนจเม้นท์.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2542). ลากพระ ใน สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. 2542. เล่มที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามเพรส แมเนจเม้นท์.