การศึกษาบทบาทในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอชาตศัตรู

Main Article Content

ประเวศ อินทองปาน
พระครู วิศาลชัยธรรม
พระมหาสมปอง ฐานิสฺสโร

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง“การศึกษาบทบาทในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอชาตศัตรู”มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาบริบททางสังคมในรัชสมัยของพระเจ้าอชาตศัตรู 2. เพื่อศึกษาพระราชประวัติของพระเจ้าอชาตศัตรู และ 3. เพื่อศึกษาบทบาทในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอชาตศัตรูด้วยวิธีวิจัยเชิงเอกสาร(Documentary Research)


 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. บริบททางสังคมในรัชสมัยของพระเจ้าอชาตศัตรู เป็นสังคมที่มีความหลากหลาย มีความเจริญรุ่งเรือง มีระบบการเมืองการปกครองหลายรูปแบบโดยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 แคว้นใหญ่ 5 แคว้นเล็ก

  2. พระราชประวัติของพระเจ้าอชาตศัตรู พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางเวเทหิราชเทวี ทรงปกครองแคว้นมคธสืบต่อจากพระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา ผลจากการปลงพระชนม์พระราชบิดาจึงต้องชดใช้กรรมในโลหกุมภีนรก เมื่อพ้นจากการชดใช้กรรมแล้ว ก็จะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าชีวิตวิเสส

  3. บทบาทในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเป็นพุทธมามกะ ยึดมั่นในพระรัตนตรัยตลอดพระชนม์ชีพ ทรงปฏิสังขรณ์วิหาร 18 พระอาราม และทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนาครั้งที่ 1 จนประสบความสำเร็จ ทรงสร้างสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและจัดฉลองอย่างยิ่งใหญ่

Article Details

How to Cite
อินทองปาน ป., วิศาลชัยธรรม พ., & ฐานิสฺสโร พ. (2015). การศึกษาบทบาทในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอชาตศัตรู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2(1), 1–7. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/137769
บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร,ป.ธ.9). ( 2545). โลกทีปนี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า .

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.