โมเดลความสัมพันธ์ของการตลาดดิจิทัลต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ของการตลาดดิจิทัลที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้บริหารธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย จำนวน 360 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า โมเดลความสัมพันธ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการได้แก่ Chi-square = 1.785, ค่าดัชนี GFI = 0.922 ,AGFI = 0.944, CFI = 0.924, NFI = 0.932 และ RMSEA = 0.0713 โดยสรุป 1) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตลาดดิจิทัลกับความสำเร็จทางการตลาด ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แสดงให้เห็นว่าการตลาดดิจิทัลมีอิทธิพลต่อความสำเร็จทางการตลาด 2) ขนาดอิทธิพลทางตรงโดยรวมของตัวแปรการตลาดดิจิทัล ได้แก่ ความสัมพันธ์ การให้ข้อมูล ความเชื่อถือได้ คุณค่า เอกลักษณ์ อารมณ์ เนื้อหาอัจฉริยะ มีอิทธิพลทางบวกต่อความสำเร็จทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหามีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุทางบวกต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความจะต้องผ่านการพิจารณายอมรับให้ตีพิมพ์ได้โดยกองบรรณาธิการของวารสารการจัดการ คณะวิทยาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง และได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ(Peer review) และผู้เขียนบทความต้องปรับปรุงตามข้อเสนอแนะหากมีก่อนตีพิมพ์ บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณา กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ทราบผลการพิจารณา แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน
วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งฉบับพิมพ์และฉบับออนไลน์ เราอนุญาตให้นำบทความไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ ภายใต้ขอบเขตของกฏหมายลิขสิทธิ์
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). ข้อมูลทั่วไปผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566, สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/
กุณฑลี รื่นรมย์. (2561). การกำหนดปัญหางานวิจัยด้านการตลาดดิจิทัลสำหรับประเทศไทยในอนาคต. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 40(157), 123-138.
นัทวี ตันติสาธรรม. (2564). ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งสำหรับยุคนั้นคือการเปลี่ยนเครื่องมือสื่อสาร จากเครื่องมือเก่าไปสู่เครื่องมือใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พลูศรี เจริญ. (2565). แนวโน้มระยะยาวของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี 5G. อ้างอิงมาจาก NIA : National Innovation Agency, Thailand.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2563 คาดหดตัวลุกสุดในปีนี้ แต่ครึ่งปีหลังยังคงมีความเสี่ยงสูงและยังต้องติดตามมาตรการเพิ่มเติม (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3880). สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages /y3880-Thai-Econ.aspx. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563].
สิวิสุทธิ์ อนันต์ธนกุล. (2564). การตลาดรูปแบบเชิงดิจิทัล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2562). การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aaker, D. A. (2001). Consumer evaluations of brand extensions. Journal of Marketing, 54(1),27–41.
AL-AZZAM, A. F. & AL-MIZEED, K. (2018). The Effect of Digital Marketing on Purchasing Decisions: A Case Study in Jordan. The Journal of Asian Finance, Economics and Business. 8(5), 455-463.
Ambler, T., & Kokkinaki, K. (2014). Measures of Marketing Success. Journal of Marketing Management, 13(7), 37-41.
Bentler, P. M., & Bonett, D. G. (1980). Significance tests and goodness of fit in the analysis of covariance structures. Psychological Bulletin, 88(3), 588–606. https://doi.org/10.1037/0033-2909.88.3.588.
Bollen, K.A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: Wiley.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis, (7th ed.) Prentice Hall, New Jersey.
Han, J.Y. & Kim, W.K. (2015). The Effect of Product Type and Channel Prioritization on Effective Digital Marketing Performance. Journal of Distribution Science, 13(5), 91-102.
Javornik, A., Raffaele, F. & Gumann, R. (2020). Don't Forget that Others Are Watching, Tool. The Effect of Conversational Human Voice and Reply Length on Observers' Perceptions of Complaint Handling in Social Media. Journal of Interactive Marketing, 50, 100-119.
Joreskog, K.G., & Sorbom D. (1989). LISREL 7: A Guide to the Program and Applications. Chicago: SPSS, Inc.
Taiminen, G. J. and M. Ranaweera. (2019). What drives virality (Sharing) of online digital content? The critical role of information, emotion, and brand prominence. Journal of Marketing, 83(4), 1-20.
Tanaka, J. S., & Huba, G. J. (1985). A Fit Index for Covariance Structure Models Under Arbitrary GLS Estimation. British Journal of Mathematical and Statistical Psychology, 38(2), 197–201.