การพัฒนาแบบจำลองธุรกิจแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

Main Article Content

น้ำฝน รักประยูร
สุวิทย์ โชตินันท์
พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์
ฑีฆา โยธาภักดี

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองธุรกิจของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างใช้แบบเจาะจง จำนวน 14 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และการอภิปรายกลุ่มย่อย การเก็บข้อมูลมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินรูปแบบธุรกิจปัจจุบัน 2) จัดทำแบบจำลองธุรกิจ 3) จัดทำแผนปฏิบัติการและประเมินผล  ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มมีศักยภาพปานกลาง มีการเลี้ยงไก่ขุน 1,000 -1,200 ตัว/ฟาร์ม กำลังพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน GAP การวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็ง ได้แก่ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จุดอ่อน ได้แก่ ขาดโรงเชือดที่มีมาตรฐาน  โอกาส ได้แก่ มีเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง อุปสรรค ได้แก่ ต้นทุนค่าอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้นและกฎหมาย ผลการออกแบบจำลองธุรกิจ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) กลุ่มลูกค้า คือ  พ่อค้าส่งและตลาดชุมชน (2) การนำเสนอคุณค่า คือ ไก่พื้นเมือง เลี้ยงแบบปลอดภัย มีให้เลือกหลากหลาย ส่งมอบตรงเวลา สร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรน่าน (3) ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า คือ ร้านของกลุ่มเกษตรกร (4) ความสัมพันธ์กับลูกค้า มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ (5) กระแสรายได้ มาจากการจำหน่ายไก่ชำแหละ ร้อยละ 80 (6) ทรัพยากรหลัก คือ คน  เงิน  วัตถุดิบ และการบริหารจัดการ (7) กิจกรรมหลัก คือ การผลิตไก่และการชำแหละ (8) พันธมิตรหลัก คือ หน่วยงานภาครัฐ เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ (9) โครงสร้างต้นทุน คือ ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร  ผลการประเมินแบบจำลองธุรกิจ พบว่า กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ การขายส่งไก่ชำแหละ เดือนตุลาคมถึงมกราคมจะมีความต้องการสูง  การขายปลีกในชุมชนมีกำไรสูงกว่าการขายส่ง ร้อยละ 20 จึงควรมุ่งเน้นการขายปลีกและสร้างการรับรู้ในชุมชน

Article Details

บท
Articles

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2561). เลี้ยง 'ไก่พื้นเมือง' โจทย์วิจัย..เพื่อความมั่นคงทางอาหารในชุมชน?. สืบค้น 20 สิงหาคม 2563. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/788971

เจตนิพิฐ มุสุเกตุ และศักดิ์ชัย เจริญศิริพรกุล. (2565). แบบจำลองธุรกิจของฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด KK Cricket Farm ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development, 7(1), 286-300.

ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

นภา นาคแย้ม. (2566). การบริิหารความเสี่่ยงเพื่่อความสำเร็็จขององค์์กร: การนำแบบจำลองธุุรกิิจแคนวาสมาใช้้ในการระบุุความเสี่่ยง. วารสารวิิทยาลััยบััณฑิิตศึึกษาการจััดการ มข., 16(1), 124-139.

นิยม กริมใจ. (2565). ธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่วิถีปกติใหม่ ด้วยโมเดลธุรกิจ CANVAS. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 66-78.

พรหมพร นุ้ยบุญแก้ว (2567). การมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ของบุคลากร. วารสารเมธีวิจัย, 1(3), 31-40.

มนตรี เชี่ยวสุวรรณ. (2565). กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเชียงกลาง. สัมภาษณ์ 12 มีนาคม 2565.

ศิริพร กิรติการกุล. (2563). ระบบการสร้างอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำแก่เกษตรกรรายย่อย เส้นทางผลลัพธ์ต้นแบบธุรกิจชุมชน. รายงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 183-197.

สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. สาขาวิชาพัฒนศึกษา ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อารณี โชติโก, สายฝน โพธิสุวรรณ, สินิทรา สุขสวัสดิ์, รุจิกาญจน์ สานนท์ และภูริณัฐ ยมกนิษฐ์. (2566). การสร้างมูลค่าเพิ่มกลยุทธ์การตลาดและการพัฒนาแบบจําลองธุรกิจของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหน่อไม้หวานแปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านไทรงาม จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(7). 90-104.

Brand buffet. (2020). 4 ทักษะที่นักการตลาดต้องมี เพื่อรับมือ New Normal ของโลกการตลาดยุคหลัง Covid-19. สืบค้น 20 สิงหาคม 2563, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2020/04/covid-19-change-behavior-new-normal/.

Carter, M. and Carter, C. (2020). "The Creative Business Model Canvas", Social Enterprise Journal, 162, 141-158.

Gustafon and Hertting. (2017). Understanding Participatory Governance: An Analysis of Participants’ Motives for Participation. American Review of Public Administration, 47(5): 538-549.

Kotler, P., & Armstrong G. 2021. Principles of Marketing. 18th ed. New Jersey: Pearson Education Inc.

Nilda Tri Putri, Muhammad Akbar Sahala Lubis, Ikhwan Arief. (2022). Developing Business Model for Food-Small Medium Enterprise Using Business Model Canvas (Case Study: Bolu Kemojo Insan Sukses). Proceedings of the 4th Asia Pacific Conference on Research in Industrial and Systems Engineering May 2021, 248–253. doi.org/10.1145/3468013.3468339.

Osterwalder, Alexander; Pigneur, Yves; Clark, Tim. (2010). Business Model Generation: A Handbook for Visionaries, Game Changers, and Challengers. Strategyzer series. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Sort, J.C. & Nielsen, C. (2018). "Using the business model canvas to improve investment processes". Journal of Research in Marketing and Entrepreneurship, 20(1), 10-33.

Umar, Abdullah; Sasongko, Agung Hari; Aguzman, Glory; Sugiharto. (2018). Business Model Canvas as a solution for competing strategy of small business in Indonesia. International Journal of Entrepreneurship; London, 22(1): 1-9.