ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าของไร่ธนโชติ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

Main Article Content

สมบัติ กันบุตร
น้ำฝน รักประยูร

บทคัดย่อ

            การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และการรับรู้ประโยชน์ที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าไร่ธนโชติ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าไร่ธนโชติ โดยคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบจำนวนประชากร จำนวน 385 ตัวอย่าง แต่เนื่องจากในแบบสอบถามมีข้อคำถามแบบสอบถามคัดกรองผู้ที่เคยซื้อและไม่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าไร่ธนโชติจึงได้รวบรวมเฉพาะข้อมูลผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าไร่ธนโชติ จำนวน 280 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุใช้เพื่อทดสอบสมมติฐาน 


            ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติส่งผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าไร่ธนโชติ อยู่ในระดับมาก มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และการรับรู้ประโยชน์ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าไร่ธนโชติ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่า 4.19 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติและปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าไร่ธนโชติ (Sig.=.000) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อได้ร้อยละ 47.70

Article Details

บท
Articles

References

กานต์สินี จันทร์หนู. (2563). ทัศนคติต่อการทำงานและความจงรักภักดีของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานบมจ.นำสินประภัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

จิรพัชร หนูกำเหนิด. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มวิตามินซีตรา C- Vitt ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

เจตวัฒน์ เกษมไชยานันท์. (2561). การรับรู้คุณค่าสินค้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อน้ำแร่บรรจุขวด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐฌา เสรีวัฒนา. (2563). ภาพลักษณ์ตราสินค้าคุณภาพการบริการและคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้านไทย-เดนมาร์ค มิลค์แลนด์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เดโช สวนานนท์. (ม.ป.ป.). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธนกร ขัติยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มนําผลไม้สดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิศารัตน์ สุรพัฒน์. (2560). อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด ตราเนสท์เล่เพียวไลฟ์ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วศะ ธรรมจักร. (2561). อิทธิพลของภาพลักษณ์แบรนด์การรับรู้ประโยชน์และการคล้อยตามที่มีผลต่อความตั้งใจ ซื้อลูกอมปราศจากน้ำตาลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิชิต อู้อ้น. (2550). การวิจัยและการสืบค้นข้อมูล. กรุงเทพฯ: พริ้นแฮทมี (ประเทศไทย) จำกัด.

สุภัทรา เฮงวาณิชย์. (2541). การรับรู้ภาระทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อานุมาต มะหมัด และพีรภาว์ ทวีสุข. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปประเภทไส้กรอกในร้านสะดวกซื้อ A ใน กรุงเทพมหานคร. สุทธิปริทัศน์, 32(103), 131-145.

_____________(2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Berry, L. L. and Parasuraman, A. (1990). ส่งมอบบริการที่มีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชาเร็นการพิมพ์

Good, C. V. (1959). Dictionary of education. New York: McGraw-Hil.

Kim, S., & Pysarchik, D. T. (2000). Predicting purchase intentions for uni-national and bi-national products. International Journal of Retail & Distribution Management, 28(6), 280–291.

Kotler, P. (2021). Marketing management (The millennium ed.). Upper Saddle River, NJ: Person Prentice Hall.

Rogers, D. (2020). The psychology of adolescence. New York: Appleton Century Crofts.

Schermerhorn, J. R. (2020). Management. New York: John Wiley & Sons.