การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Main Article Content

หทัยรัตน์ หอมไกรลาศ
พรประภา ชุนถนอม
วิวัฒน์ ศรีวิชา
เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา
อนุชาวดี ไชยทองศรี
โสภิดา สัมปัตติกร

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล (ขมิ้น-นาหัวบ่อ-ไร่-วังยาง) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนทรัพยากรวัฒนธรรมในพื้นที่ 4 ตำบล  การวิจัยมี 5 ขั้น ตามทฤษฎี ADDIE Model กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 114 คน ประกอบด้วย 1) ผู้นำชุมชน จำนวน 64 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน  3) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และ 4) นักท่องเที่ยว จำนวน 20 คน  คัดเลือกโดย Simple Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  1) แบบสำรวจบริบทของชุมชน 4 ตำบล 2) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา 3) แบบประเมินความพึงพอใจของกิจกรรมในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ระยะที่ 1ศึกษาบริบทชุม พบว่าทรัพยากรธรรมชาติ คือ เทือกเขาภูพาน สถานที่ท่องเที่ยวมีอ่างเก็บน้ำห้วยทราย-ขมิ้น พระธาตุภูเพ็ก วัดถ้ำขาม ผลิตภัณฑ์เด่น คือ ผ้าคราม วัฒนธรรมฮีตสิบสองคลองสิบสี่ คนในพื้นที่ชนเผ่าภูไท ลาว ที่พักลักษณะโฮมสเตย์ อาหารประจำถิ่นตามช่วงฤดูกาลและมีอัตลักษณ์ที่ โดดเด่น คือ ภาษาภูไท วัฒนธรรมการแต่งกาย ระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้องค์ประกอบดังนี้ 1) โครงสร้างพื้นฐาน: Infrastructure 2) ผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก: Product 3) เจ้าบ้านที่ดี อาหาร: Good host Food  4) เส้นทางท่องเที่ยว 4 ตำบล: Tourism program 5) กิจกรรมท่องเที่ยว:Tourism activities และ 6) สื่อประชาสัมพันธ์: Story telling รวมเรียกว่า IP2TS Model ระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของคู่มือรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ( = 4.15 , S.D = 0.67) ระยะที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมตามรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.60 ,  S.D = 0.48) และ ระยะที่ 5 การประเมินผลรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า โดยรวมมี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.76 , SD = 0.44)

Article Details

บท
Articles

References

กัลยาณี กุลชัย (2560) .การสร้างคู่มือการท่องเที่ยวชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบล บางน้ำผึ้งอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20, 26-41.

เขมลักษณ์ คุปคีตพันธ์ และปริญญา บรรจงมณี (2563).แนวทางการพัฒนาองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(1), 1-13.

ดุสิตพร ฮกทา,จุติมา บุญมีและ ธนินทร์ สังขดวง (2562) .การประเมินศักยภาพและออกแบบโครงข่ายการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. รายงานการวิจัย สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565 เข้าถึงจาก https://www.repository.rmutsv.ac.th

นาตยา เกตุสมบูรณ์และวันทนา เนาว์วัน (2562) .ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวหมู่บ้านหนองสรวง ตำบลกระแซง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 25(1), 81-93.

แพรภัทร ยอดแก้ว (2565).แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในจังหวัดนครปฐม.การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,หน้า 2873 – 2886,

วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์ และศิคริษฐ์ คุณชมภู. (2562). รูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม.วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม , 6(1), 137-146.

สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2560).รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ.โครงการพัฒนาผู้ประกอบการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม,สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2567 เข้าถึงจาก https://www.ipthailand.go.th/images/3534/web_ 01052018/Report_CHU/8_Well-being_06.12.2017_CHU.pdf