การศึกษาผลกระทบของโควิด 19 ต่อความต้องการท่องเที่ยวภายในประเทศ: การศึกษานักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทั่วไปภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทัศนคติและความชอบ ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และความต้องการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งกลุ่มตามเขตที่อาศัยอยู่ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดกรุงเทพมหานคร แล้วจึงใช้เทคนิควิธีการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนตัวอย่างครบตามที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


            ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบทั่วไปภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีทัศนคติและความชอบต่อการท่องเที่ยวภายหลังการระบาดของ COVID-19 ให้ความสำคัญกับด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย มีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และมีความต้องการท่องเที่ยวภายในประเทศ ทุกตัวแปรอยู่ในระดับมาก ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย (β3 = 0.631, t = 10.311, p<.01) และปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม (β4 = 0.229, t = 4.456, p<.01) ขณะที่ปัจจัยด้านผลกระทบทั่วไป และทัศนคติและความชอบไม่มีมีอิทธิพลต่อความต้องการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร ( 1 = -0.032, t = -0.894, p>.05) ( 2 = 0.068, t = 1.029, p>.05) ตามลำดับ


 

Article Details

บท
Articles

References

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2563). สถิติกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร:บริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์ จำกัด.

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด 19. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(1), 160-167.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Assaf, A., & Scuderi, R. (2020). COVID-19 and the recovery of the tourism industry. Tourism Economics, 26(5), 731-733.

Bakar, N. A., & Rosbi, S. (2020). Effect of Coronavirus disease (COVID-19) to tourism industry. International Journal of Advanced Engineering Research and Science, 7(4), 189-193.

Chen, W., Cao, C., Fang, X., & Kang, Z. (2019). Expanding the theory of planned behaviour to reveal urban residents’ pro-environment travel behaviour. Atmosphere, 10(8), 467.

Chua, B. L., Al-Ansi, A., Lee, M. J., & Han, H. (2021). Impact of health risk perception on avoidance of international travel in the wake of a pandemic. Current Issues in Tourism, 24(7), 985-1002.

Das, S. S., & Tiwari, A. K. (2021). Understanding international and domestic travel intention of Indian travelers during COVID-19 using a Bayesian approach. Tourism Recreation Research, 46(2), 228-244.

Ekinci, Y., Gursoy, D., Can, A. S., & Williams, N. L. (2022). Does travel desire influence COVID-19 vaccination intentions?. Journal of Hospitality Marketing & Management, 31(4), 413-430.

Fedeli, G., Nguyen, T. H. H., Williams, N. L., Del Chiappa, G., & Wassler, P. (2022). Travel desire over intention in pandemic times. Annals of Tourism Research Empirical Insights, 3(2), 1-4.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010) Multivariate Data Analysis. 7th Edition, Pearson, New York.

Jiang, X., Qin, J., Gao, J., & Gossage, M. G. (2022). How Tourists’ Perception Affects Travel Intention: Mechanism Pathways and Boundary Conditions. Frontiers in psychology, 1-16.

Jin, M. L., Choi, Y., Lee, C. K., & Ahmad, M. S. (2020). Effects of place attachment and image on revisit intention in an ecotourism destination: Using an extended model of goal-directed behavior. Sustainability, 12(18), 1-16.

Ma, G., Ding, Y., & Ma, J. (2022). The impact of airport physical environment on perceived safety and domestic travel intention of Chinese passengers during the COVID-19 pandemic: The mediating role of passenger satisfaction. Sustainability, 14(9), 1-18.

Riestyaningrum, F., Ferdaos, E., & Bayramov, B. (2020). Customer behavior impacts international tourist's travel intention due to Covid-19. Journal of Sustainable Tourism and Entrepreneurship, 1(3), 231-243.

Sawmong, S. (2020). Effects of Travel Intention, Organizational Response, and Perception of Control Due to COVID-19 on Thai Tourists’ Behavior. International Journal of Early Childhood Special Education (INT-JECSE), 29(5), 1739-1748.

Sharifpour, M., Walters, G., Ritchie, B. W., & Winter, C. (2014). Investigating the role of prior knowledge in tourist decision making: A structural equation model of risk perceptions and information search. Journal of Travel Research, 53(3), 307-322.

Yuriev, A., Boiral, O. and Guillaumie, L. (2020), "Evaluating determinants of employees' pro-environmental behavioral intentions", International Journal of Manpower, Vol. 41 No. 7, pp. 1005-1019.