ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคออนไลน์ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กุสุมา สีดาเพ็ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และคุณภาพของระบบสารสนเทศของผู้บริโภคออนไลน์ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อประเมินการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ ของผู้บริโภคออนไลน์ในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคออนไลน์ในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์และพักอาศัยอยู่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสถิติอนุมานด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และคุณภาพของระบบสารสนเทศของผู้บริโภคออนไลน์ในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.53, S.D.=0.98) ระดับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.66, S.D.=0.75) และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ได้แก่ คุณภาพของการบริการ ความนิยม การบอกต่อ และคุณภาพข้อมูล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การกำหนดเท่ากับ 0.6890 โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคออนไลน์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำข้อค้นพบมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการกลยุทธ์การติดต่อสื่อสาร โดยการถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์สำหรับผู้ประกอบการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคยิ่งขึ้น

Article Details

บท
Articles

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

จำนง พรายแย้มแข. (2529). เทคนิคการวัดผลและการประเมินผล. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

จีรนันท์ กาญจนสิทธิ์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจไปท่องเที่ยวต่างประเทศซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย. ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.30(1). 6-17.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: วีพรินท์.

ณัฐพัชร์ ล้อประเสริฐ. (2549). สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

ธงชัย สันติวงษ์. (2538). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ธนพงศ์ กำเหนิดชูตระกูล และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). ปัจจัยการบอกต่อการจัดอันดับและการวิจารณ์สินค้าคุณภาพของข้อมูลและการบริการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ ขายเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านทางสังคมออนไลน์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (S-commerce) ในเขต กรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2559 ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงแรมริชมอนด์ สไตลิส คอนเวนชั่น. 30(1). 19-33.

พิศุทธิ์ อุปถัมภ์และนิตนา ฐานิตธนกร.(2557).ความไว้วางใจและลักษณะธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์.(พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). ตำราหลักการตลาด. กรุงเทพฯ : มาร์เก็ตติ้งมูฟ.

สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2559). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. สืบค้น 10มกราคม 2565. จาก https://data.go.th/

Chang, S.E., Liu, A.Y., & Shen, W.C. (2017). User trust in social networking services: A comparison of Facebook and Linkedln. Computer in Human Behaviour, 69(1). 207-217.

Chu, S.C., & Kim, Y. (2011). Determinants of consumer engagement in electronic word-of-mouth (e-wom) in social networking sites. International Journal of Advertising, 30(1).47-75.

Delone, W.H. and Mclean, E.R. (1992) Information Systems Success: The Quest for the Dependent Variable. Information Systems Research, 3(4). 60-95.

Delone, W.H. & Mclean, E.R. (2003) The Delone and Mclean Model of Information System Success: A Ten-Year Update. Journal of Management Information Systems, 19(1). 9-30.

Global and Thailand. (2020). Global Facebook Users. สืบค้น 10 มกราคม 2565. จาก https://www.insiderintelli gence.com/content/global-facebook-users-2020

Godey, B., Manthiou, A., Pederzoli, D., Rokka, J., Aiello, G., Donvito, R., Singh, R. (2016) "Social media marketing efforts of luxury brands: Influence on brand equity and consumer behavior". Retrieved from https://doiorg.proxy.library.brocku.ca /10.1016/ j.jbusres.2016.04.181

Gorla,N., Somers,T. , Wong,B. (2010). Organizational impact of system quality, information quality, and service quality. Journal of Strategic Information Systems, 19(7). 207–228.

Grandison, T., & Sloman, M. (2000). A survey of trust in internet applications. IEEE Communications Survey and Tutorials, 3(4). 2-16.

Kaur, G. (2016). Social Media Marketing. Asian Journal of Multidisciplinary Studies, 4(6). 34-36.

Kaur, M. and Kaur, G. (2016) Academic Stress in Relation to Emotional Stability of Adolescent Students. International Journal of Social Sciences and Management, 4(1). 35-41.

Kim, A.J. and Ko, E. (2012) Do Social Media Marketing Activities Enhance Customer Equity? An Empirical Study of Luxury Fashion Brand. Journal of Business Research, 65(10). 1480-1486.

McKnight, D.H. (2005). Trust in Information Technology. Management Information Systems. 329-331

Muntinga D.G., Moorman, M.&Smit, E.G. (2011). Introducing CoBras; exploring motivation for brand-related social media use. International Journal of Advertising, 30(1). 13-46.

Naaman, H. Becker, L. Gravano. (2010). Hip and trendy: Characterizing emerging trends on Twitter. Journal of the American Society for Information Science and Technology, 62(5). 902-918.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Phua, J.J., Jin, S.A. & Kim, J.H. (2017). Gratifications of Using Facebook, Twitter, Instagram, or Snapchat to Follow Brands. Telematics & Informatics, 34(1).412-424.

Reeves, C.A., & Bednar, D.A. (1994). Defining Quality: Alternatives and Implications. Academy of Management Review, 19(3). 419-445.

Sanderson, C., & Gruen, R. (2006). Analytical models for decision-making. McGraw-Hill Education (UK).