ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกันในวิชาชีพบัญชี ความสามารถในการปรับตัวเชิงเทคโนโลยี และประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมาย ของผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

เพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์
วรวิทย์ เลาหะเมทนี

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกันในวิชาชีพบัญชี ความสามารถในการปรับตัวเชิงเทคโนโลยี และประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมายของผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามทางไปรษณีย์จากผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 117 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกันในวิชาชีพบัญชีมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการปรับตัวเชิงเทคโนโลยี และประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมาย  ในขณะที่ความสามารถในการปรับตัวเชิงเทคโนโลยี มีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมาย ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจในอิทธิพลระหว่างทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกันในวิชาชีพบัญชี ความสามารถในการปรับตัวเชิงเทคโนโลยี และประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในต่างประเทศและข้อบังคับของสภาวิชาชีพบัญชีของไทย นักบัญชียุคปัจจุบันต้องมีการปรับตัวทางด้านเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้นซึ่งถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนแนวคิดของสภาวิชาชีพบัญชี ผลการศึกษาได้ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการบัญชีเพื่อส่งเสริมการศึกษาควบคู่กับการปฏิบัติงานจริงภายใต้สภาพแวดล้อมที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพที่เหมาะสมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
Articles

References

กนกอร อรุณทวีรุ่งโรจน์. (2560). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความสำเร็จในวิชาชีพบัญชี กรณีศึกษา : นักบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [ออนไลน์]สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563 เข้าถึงจาก https://www.set.or.th/set/marketstatistics.do

นันทวรรณ บุญช่วย. (2563). ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 15-26.

นภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์. (2564). Upskill และ Reskill ความท้าทายสำหรับ CFO และผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2564 เข้าถึงจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/135090

ปัญจพร ศรีชนาพันธ์, ณัฐนรี ทองดีพันธ์ และสิงหา คำมูลตา. (2561). ผลกระทบของศักยภาพของนักบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของธุรกิจอุตสาหกรรมในจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11 (2), 58-70.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563 เข้าถึงจาก http://www.fap.or.th/st_eduit.php.

สมชาติ กิจยรรยง. (2536). สรางบริการสรางความประทับใจ. กรุงเทพฯ: เดช - เอน การพิมพ.

อนุุชา ถาพยอม, บงกช ตั้ังจิิระศิิลป์์ และวรพรรณ รัตนทรงธรรม. (2563). ผลกระทบของความสามารถในการปรับตัวต่อการตัดสินใจทางการบัญชีและผลการปฏิบัติงานด้านบัญชี: หลักฐานเชิงประจักษ์จากนักบัญชีในจังหวัดระยอง. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 2(4), 15-29.

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing Research. 7th ed. New York: Wiley.

Armstrong, J. S., and Overton, T. S. (1977). Estimating Non-response Bias in Mail Surveys. Journal of Marketing Research, 14(3), 396-402.

Bagozzi, R. P., & Yi, Y. (1988). On the evaluation of structural equation models. Journal of the Academy of Marketing Science, 16, 74-94.

Bar-On, R. (2006). The Bar-On model of emotional-social intelligence (ESI). Psicothema, 18, 13-25.

Byrne, B. M. (1998). Structural Equation Modeling with Lisrel, Prelis, and Simplis: Basic Concepts, Applications, and Programming. 1th ed. New York: Psychology Press,

DiMaggio, P. J. & Powell W. W. (1983). The Iron Cage Revisited: Institutional Isomorphism and Collective Rationality in Organizational Fields, American Sociological Review, 48(2), 147-160.

Guan, L, R., Don, H., & M. M, Mowen. (2006). Cost Management. 6thed. South-Western:Sout-Western CengageLearing.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed, Upper Saddle River, New Jersey: Pearson.

Husted, B.W., & Allen, D.B. (2007). Corporate Social Strategy in Multinational Enterprises: Antecedents and Value Creation. Journal of Business Ethics, 74(4), 345–361.

Kermis, G., & Kermis, M. (2010). Professional presence and soft skills: A role for accounting education. Journal of Instructional Pedagogies, 2, 1-10. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1056346.pdf

Kline, P. (2000). A Handbook of Psychological Testing. 2nd ed. London: Routledge.

Meyer, J., W., & Rowan B. (1977). Institutionalized Organizations: Formal Structure as Myth and Ceremony. American Journal of Sociology, 83(2),340-363. Retrieved from http://www.jstor.org/stable/2778293

Nelson, M. W. (2009). A Model and Literature Review of Professional Skepticism in Auditing. Auditing. A Journal of Practice & Theory, 28(2), 1-34.

Nunnally, C.J, & Bernstein, H.I. (1994). Psychometric Theory. New York, NY: McGraw-Hill.

Perks, J., & Bar-On, R. (2010). Coaching for Emotionally Intelligent Leadership. In J. Passmore (2nd Ed.), Coaching for leadership. London, UK: Kogan Page, 55-74.

Phornlaphatrachakorn, K. & Na Kakalasindhu, K. (2021). Digital Accounting, Financial Reporting Quality and Digital Transformation: Evidence from Thai Listed Firms. Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(8), 409–419.

Pishghadam, R. (2009). A Quantitative Analysis of the Relationship between Emotional Intelligence and Foreign Language Learning. Electronic Journal of Foreign Language Teaching. 6(1), 31–41. Retrieved from https://e-flt.nus.edu.sg/wp-content/uploads/2020/09/v6n12009/pishghadam.pdf

Pulakos, E. D., Arad, S., Donovan, M. A., & Plamondon, K. E. (2000). Adaptability in the workplace: Development of a taxonomy of adaptive performance. Journal of Applied Psychology, 85: 612–624. DOI: 10.1037/0021-9010.85.4.612.

Vera‐Mun˜oz, S.C., Ho, J.L., & Chow, C.W. (2006). Enhancing Knowledge Sharing in Public Accounting Firms. Accounting Horizons, 20 (2): 133–155.

Thapayom, A., Ussahawanitchakit, P., & Boonlua, S. (2018). Effect of Emotional Intelligence Orientation on Audit Sustainability of Certified Public Accountants (CPAs) in Thailand. Journal of Accountancy and Management, 10(3), 1-16.

Watts, R. L., & Zimmerman, J. L. (1983). Agency problems, auditing, and the theory of the firm: Some evidence. Journal of Law and Economics, 613-633.

World Economic Forum. (2020). The Future of Jobs Report 2020. Retrieved From http://www3.weforum.org/ docs/WEF_Future_of_Jobs_2020.pdf