การพยากรณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนกิ่วลม โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล

Main Article Content

วีรศักดิ์ ฟองเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเทคนิคเหมืองข้อมูลที่เหมาะสมในการพยากรณ์ปริมาณน้ำในเขื่อน และ 2) เปรียบเทียบผลปริมาณน้ำจริงกับผลการพยากรณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล งานวิจัยนี้ได้บริหารจัดการข้อมูลน้ำที่มีอยู่ที่เป็นปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำประกอบด้วย ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน ปริมาณน้ำในเขื่อน ปริมาณการปล่อยน้ำ และอัตราการระเหย โดยรวบรวมข้อมูลรายวัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2559 รวม 25 ปี จำนวน 9,125  ระเบียน เพื่อนำมาพยากรณ์ด้วยเทคนิคการพยากรณ์


ผลการวิจัยพบว่า 1) เทคนิคเหมืองข้อมูลที่นำมาใช้ในการพยากรณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนประกอบด้วย 4 เทคนิค ได้แก่ เทคนิควิธีการวิเคราะห์การถดถอย วิธีโครงข่ายประสาทเทียม วิธีแบบจำลองต้นไม้เอ็มไฟว์พีและวิธีเทคนิคซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชีนส์ โดยเลือกจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีการใช้งานมากที่สุดและ 2) ผลการเปรียบเทียบการพยากรณ์ปริมาณน้ำรายเดือนในเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลทั้ง 4 เทคนิค พบว่า วิธีแบบจำลองต้นไม้เอ็มไฟว์พี มีค่าสัมบูรณ์ของความคลาดเคลื่อนต่ำสุด ที่ 10.58 และเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนำไปพัฒนาระบบเพื่อการพยากรณ์น้ำในเขื่อน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าสัมบูรณ์ของความคลาดเคลื่อนแต่ละเทคนิคเรียงตามค่าความคลาดเคลื่อนจากน้อยไปมาก พบว่า วิธีแบบจำลองต้นไม้เอ็มไฟว์พีมีค่าเท่ากับ 10.58 วิธีซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชีนส์ มีค่าเท่ากับ 19.90 วิธีวิเคราะห์การถดถอย มีค่าเท่ากับ 20.00 และวิธีโครงข่ายประสาทเทียม มีค่าเท่ากับ 21.65 ตามลำดับ


 

Article Details

บท
Articles
Author Biography

วีรศักดิ์ ฟองเงิน

อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

References

ณัฐริน เจริญเกียรติบวร. (2549). การใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อช่วยในการแนะแนวการศึกษาต่อระดับ
อุดมศึกษา, ภาควิชาคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยศิลปกร .
พยุง มีสัจ.(2555) ระบบฟัซซี่และโครงข่ายประสาทเทียม, วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระ
นครเหนือ, กรุงเทพฯ.
พิชญ์สินี ชมพูคำ . (2554 ). การวิเคราะห์การถดถอย. [Online] Available:
http://www.hosting.cmru.ac.th/phitsinee/regression/index.php ค้นเมื่อ [2559, กันยายน 30].
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าพระนครเหนือ.
Duda, R.O. & HartPattern, P.E. (1993). Classification and Scene Analysis. New York : John Wiley.
Preis, A. & Ostfeld, A. (2007). A coupled model tree–genetic algorithm scheme for flow and
water quality predictions in watersheds. Journal of Hydrology .