ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนสอบบัญชีอย่างครบถ้วนของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีในสำนักงานสอบบัญชีที่ให้บริการกิจการนอกตลาดทุน

Main Article Content

อาภรณ์ จารุอัคระ
อรรถพงศ์ พีระเชื้อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนสอบบัญชีอย่างครบถ้วนของผู้ช่วยสอบบัญชีในสำนักงานสอบบัญชีที่ให้บริการกิจการนอกตลาดทุน โดยการเก็บแบบสอบถามระหว่างปี พ.ศ. 2561 จำนวน 115 คน และวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการประมวลผลข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยการไม่ตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของตน และปัจจัยมาตรฐานวิชาชีพบัญชียากต่อการเข้าใจและนำมาปฏิบัติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนสอบบัญชีอย่างครบถ้วน สำหรับปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ แรงกดดันทางเวลา เพศ และประสบการณ์การทำงาน ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนสอบบัญชีอย่างครบถ้วน ดังนั้น เพื่อลดพฤติกรรมการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนสอบบัญชีอย่างครบถ้วน สำนักงานสอบบัญชีที่ให้บริการเฉพาะกิจการนอกตลาดทุน ควรมีมาตรการเสริมสร้างให้ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีเกิดความภาคภูมิใจและการตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง และสนับสนุนให้เข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านมาตรฐานวิชาชีพเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น 

Article Details

บท
Articles

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2547). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2560.
จาก https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=1078& filename=index
จิราภรณ์ ปะจันทะสี, ไพลิน นิลนิยม และศุทธินี ปราชญ์ศรีภูมิ. (2559). ผลกระทบของสมรรถนะการสอบบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 8(4), 181-192.
จิราวัลย์ จิตรถเวช. (2558). การวิเคราะห์ถดถอย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จุรี วิชิตธนบดี. (2543). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพการบัญชี ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดรุณี วงษ์ศิลป์, ศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์, และณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ. (2556). ผลกระทบของความจงรักภักดีต่อวิชาชีพการสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีในสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 5(1), 46-55.
นฤนาถ ศราภัยวานิช. (2556). คุณภาพงบการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 8(2), 21-30.
นิลุบล คงไมตรี, กัญญมน วิทยาภูมิ และไพลิน นิลนิยม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบทางบัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 7(1), 119-127.
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์, ไพรัช พรพันธ์เดชวิทยา และศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชี่ยวชาญการสอบบัญชีกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, ฉบับพิเศษ, 49-61.
วาสนา พัฒนานันท์ชัย. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วีรณา ติรณะประกิจ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลง. วารสารวิชาชีพบัญชี, 5(14), 69-79.
สมพงษ์ พรอุปถัมภ์. (2559). เมื่อสำนักงานสอบบัญชีต้องทำตาม TSQC1. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2560, จาก https://account.cbs.chula.ac.th/2016/10/17/เมื่อสำนักงานสอบบัญชี
สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2559). การวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2557). รายงานสรุปกิจกรรมการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชี 2556. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2560, จาก https://www.sec.or.th/ TH/RaisingFunds/
EquityDebt/Documents/activities_report_th_2556.pdf
อารยา แป๊ะป๋อง. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การประเมินองค์กรแบบสมดุล และการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในเขตย่านธุรกิจการค้าสีลม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Breesch, D. & Branson, J. (2009). The Effects of Auditor Gender on Audit Quality. IUP Journal of Accounting Research & Audit Practice, 8(3), 78-107.
Choo, F., & Firth, M. (1998). The Effect of Time Pressure on Auditors’ Configural Information Processing. International Journal of Auditing, 2, 21-33.
Coram, P., Glavovic, A., Ng, J. & Woodliff, D. (2008). The Moral Intensity of Reduced Audit Quality Acts. Auditing. Journal of Practice & Theory, 27, 127-49.
Donnell, O. & Johnson, N. (2001). The Effect of Auditor Gender and Task Complexity on Information Processing Efficiency. International Journal of Auditing, 5, 91-105.
Gundry, C. & Liyanarachchi, A. (2007). Time Budget Pressure, Auditors’ Personality Type, and the Incidence of Reduced Audit Quality Practices. Pacific Accounting Review, 19(2), 125-152.
Hyatt, A. & Taylor, H. (2013). The Effects of Time Budget Pressure and Intentionality on Audit Supervisors’ Response to Audit Staff False Sign-off. International Journal of Auditing, 17, 38-53.
Jais, M., Nawawi, A. & Salin, P. (2016). Reduction of Audit Quality by Auditors of Small and Medium Size Audit Firms in Malaysia: A Case of Premature Sign-off of Audit Documents. Journal of Accounting – Business & Management, 23(2), 1-12.
Nehme, R., Mutawa, A. & Jizi, M. (2016). Dysfunctional Behavior of External Auditors the Collision of Time Budget and Time Deadline Evidence from a Developing Country. The Journal of developing Areas, 50(1), 373-389.
Reheul, M., Ceneghem, V., Bogaerd, V. & Verbruggen, S. (2017). Auditor Gender, Experience and Reporting in Nonprofit Organizations. Managerial Auditing Journal, 32(6), 550-577.
Soobaroyen, T. & Chengabroyan, C. (2016). Auditors’ Perceptions of Time Budget Pressure, Premature Sign Offs and Under-Reporting of Chargeable Time: Evidence from a Developing Country. International Journal of Auditing, 10, 201-218.
The University of California Los Angeles. (2018). What dose Cronbach’s Alpha mean? Retrieved February 12, 2018, from https://stats.idre.ucla.edu/spss/faq/what-does-fcronbachs-alpha-mean/