รูปแบบการบริหารงานคุณภาพของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย โดยการใช้กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์

Main Article Content

ธนภณ ภู่มาลา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานคุณภาพ ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยซึ่งประกอบด้วย การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้า-ตลาด การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร และการจัดการกระบวนการ 2) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถด้านธุรกิจ ความสามารถด้านกลยุทธ์ ความสามารถในวิชาชีพ HR 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานคุณภาพ กับ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 4) เพื่อหารูปแบบให้มหาวิทยาลัยเอกชนไทย บรรลุการบริหารงานคุณภาพ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะผู้บริหารระดับสูง จำนวน 346 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และเกณฑ์ที่ใช้อภิปรายผล โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรตาม การบริหารงานคุณภาพของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย ใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรต้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบริหารงานคุณภาพ กับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ใช้การวิเคราะห์แบบสหสัมพันธ์คาโนนิคอล การวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานคุณภาพของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมุ่งเน้นบุคลากร มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.45
2. กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสามารถด้านธุรกิจ ความสามารถด้านกลยุทธ์ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.38 เท่ากัน
3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การบริหารงานคุณภาพกับกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พบว่าความสามารถด้านธุรกิจ ในด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจ มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการบริหารงานคุณภาพในด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การจัดการกระบวนการความสามารถด้านกลยุทธ์ ในด้านการกำหนดโมเดลกลยุทธ์ HR ด้วยกรอบความสามารถ มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการบริหารงานคุณภาพ ในด้าน การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ความสามารถในวิชาชีพ HR ในด้าน โครงสร้างค่าจ้างแบบช่วงกว้าง มีความสัมพันธ์กับ รูปแบบการบริหารงานคุณภาพในด้านการเน้นลูกค้าและตลาด การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร
4. สรุป รูปแบบการบริหารงานคุณภาพของมหาวิทยาลัยเอกชน จะมีความสามารถด้านธุรกิจ ความสามารถด้านกลยุทธ์ ความสามารถในวิชาชีพ HR เพื่อให้บรรลุด้วย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะเป็นในด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจ การกำหนดโมเดลกลยุทธ์ HR ด้วยกรอบความสามารถ โครงสร้างค่าจ้างแบบช่วงกว้าง

Article Details

บท
Articles

References

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2547). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
ธนภณ ภู่มาลา. (2552). การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยที่ดีในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Agere, S. (2000). Promoling Good Governance : Pratices and Perspective. London : Commonwealth Secretariat.
Asian Development Bank (ADB). (1999). Governance in Thailand : Challenge, Issues and Prospects. Report.
Arthur Anderson & American Productivity & Quality Center.(1996). The Knowledge Management Assessment Tool: External Benchmarking Version, Arthur Anderson/APQC, USA.
Certo, S. C. (1997). Modern Management. New Jersey : Prentice-Hall.
Chevalier, J. (2001). Stakeholder Analysis and Natural Resourse Management, http://www.carleton.caJche-Vali.STAXH2.html
Clarke, T. & Stewart C. (1998). Changing Paradigms : Transformation of Management Knowledge for the 21st century London, Harper Collins
Daft, R. L. (2002). Management. (6th ed.). Mason, OH: South-Western.
Denhardt, J. V. & Robert B. D. (2003). The New Public Service : Serving, not Steer. New York : M.E. Sharpe, Inc .
Dering, N. (1998). Leadership in quality organizations. The Jounal for Quality and Participation, 21(1), 32-35. Retrieved from Proquest database.
Dixon, N. (1994). The Organization Learning Cycle. Mc. Graw Hill.
Fiedler, F. E. & Grecia, J. E. (1987). New approaches to Leadership. Cog native resources and organizational performance. New York : John Wiley.
Gartner, Tanya, Hans O. & Dirk R. (2002). A Guided Tour through knowledgemotion (tm) : The Siemens Business Services Knowledge Management Framework, in Knowledge Management Case Book : Siemens Best Practices, Editors – Thomas H. Davenport & Gilbert J. B. Probst, Publicis Corporate Publishing and John Wiley & Sons, Germany,
162-176.
Grimble, R. & Wellard K. (1997). Stakeholder analysis for natural resource management in developing countries : Some practial guidelines for making management more participatory and effective, Agricultural Systems Journal 55(2).
Holsapple, C. W. & Joshi K.D.. (2002). Understanding Knowledge Management Solutions : The Evolution of Frameworks in Theory and Practice in Knowledge Management Systems: Theory and Practice, Stuart Barnes (Editor), Thompson Learning, The Alden Press, UK, 222-241.
Hilliard G. V. & Norman D. K. (1999). Department of Public Management and Business Management. Port Elizabeth Technikon.
House, R. J. (1996). Path-goal theory of Leadership : Lesson, Legacy, and Reformulated theory. Leadership Quarterly, 7, 323-352.
Malcom Baldrige National Quality Award. (2010) .Education Criteria For Performance Excellence.
Taro Yammane. (1973). Statistics : An introductory Analysis. Tokyo : Harper International Edition.
Thailand Quality Award. (2007). Criteria for Performance Excellence.