การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิด ร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.57คำสำคัญ:
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิด, เทคนิคการคิด พูด เขียนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ จังหวัดตรัง โดยกลุ่มตัวอย่างนี้ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling unit) จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 33 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย 2) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) สถิติการทดสอบที (t – test)
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่1). โรงพิมชุมนุมสหกรณ์การเกษตร์แห่งประเทศไทย จำกัด.
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ จังหวัดตรัง. (2565).
รายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาประจำปีการศึกษา 2565. โรงเรียน
รัษฎานุประดิษฐ์-อนุสรณ์ จังหวัดตรัง.
น้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2566). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://www.vet.cmu.ac.th/webmed/educationvet/
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2553). การสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively guided instruction: CGI)
รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา,
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). ผล
การประเมิน PISA 2022 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการ
สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). สถิติ O – NET ย้อนหลัง.
https://www.niets.or.th/th/content/view/11821
อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ.
โรงพิมพ์: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Carpenter, T. P., F., E. (1996). Cognitively guided instruction: A knowledge base
for reform in primary mathematics instruction. Elementary School Journal, 1, 97.
Huinker, D. & Laughlin, C. (1996) Talk your way into writing. In Portia C. E.,
Communication in Mathematics, K-12 and beyond (pp.81-88). United States: National
Council of Teachers of Mathematics.
Klausmeier. (n.d.). Educational psychology: Vol. 5 th ed. Harper & Row.
Zulkardi, Z. (1999). How to Design Mathematics Lesson based on the Realistic Approach.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.