การยกระดับพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.59คำสำคัญ:
ศักยภาพ, การแข่งขันทางการค้า, ผู้ประกอบการ, สินค้า OTOPบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ และศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้าของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 180 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นไทล์ โดยใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่และมอร์แกน (1970) จะได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 123 คน และผู้วิจัยดำเนินการคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูล/กลุ่มเป้าหมาย โดยคัดเลือกจากผู้ที่เป็นคณะกรรมการของกลุ่มผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่ม ที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลจนเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัย ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 คน และสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและประเด็นสนทนากลุ่มย่อย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย โดยนำเสนอเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.44) ; (SD = 1.04) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สภาพการดำเนินงานด้านการวางแผนธุรกิจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.38) ; (SD = 0.82) รองลงมาคือ ด้านการสื่อสาร (x ̅ = 4.14) ; (SD = 0.94) และด้านองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม (x ̅ = 1.81) ; (SD = 1.37) ประเด็นปัญหา ความต้องการ และศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้า พบว่า 1) ยังขาดความเข้าใจต่อการวางแผนธุรกิจ 2) มีข้อจำกัดในการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ 3) ขาดการเรียนรู้การสืบค้นข้อมูลใหม่ๆ ประเด็นแนวทางการพัฒนานั้นภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทสนับสนุนส่งเสริม ให้ความรู้ และเป็นพี่เลี้ยง
Downloads
References
กัลยรัตน์ พินิจจันทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการบริหารจัดการของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 13(2) พฤษภาคม – สิงหาคม 2561.
จีราวัฒน์ มันทรา. (2559). การศึกษาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผ้าไหม ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น: วารสารธรรมทรรศน์ ปีที่ 16 (ฉบับที่ 3) ประจำเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2559.
วราพร โภชน์เกาะ. (2558). การพัฒนาศักยภาพการตลาดของกลุ่มชุมชนบ้านโพนสูง ตำบลหมื่นไวยอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมากรณีศึกษาฟาร์มเห็ดและสวนมะนาว: การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 6 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินการของกลุ่มผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ผลิตภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน: วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีที่ 4 (ฉบับที่ 5) กันยายน – ตุลาคม 2565.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น กรมพัฒนาชุมชน. (2563). ประวัติความเป็นมาหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP): สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567 จากhttps://district.cdd.go.th/khaosuankwang/services.
Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Rescarch Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.