ภาวะผู้ตามกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.58คำสำคัญ:
ภาวะผู้ตาม, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ 2. เพื่อศึกษาภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และ 3.เพื่อศึกษาภาวะผู้ตามกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานอยู่ในปี 2566 ที่ระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 286 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าค่า t-test, One - way ANOVA หรือ F-test ผลการศึกษาพบว่า
- ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีผลต่อรูปแบบภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ทั้งนี้เนื่องจากในการปฏิบัติงาน ทุกปัจจัยส่วนบุคคลต้องอยู่ภายใต้ระเบียบการปฏิบัติงาน แนวทางหรือนโยบายหลักของมหาวิทยาลัยซึ่งทำให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด 2. ภาวะผู้ตามพบว่าในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.24, S.D. = 0.358) ด้านที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด ได้แก่ ภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผล ( = 4.40, S.D. = 0.484) ภาวะผู้ตามแบบปรับตัว ( = 4.26, S.D. = 0.550) ภาวะผู้ตามแบบเอาตัวรอด ( = 4.14, S.D. = 0.448) 3. ภาวะผู้ตามมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ ในภาพรวมมีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = 0.711) ด้านที่มีระดับความสัมพันธ์มากที่สุด คือภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผลมีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.321) และความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ คือ ภาวะผู้ตามแบบเอาตัวรอด (r=.113) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมพบว่า ควรกำหนดนโยบายในการส่งเสริมความก้าวหน้าให้กับบุคลากร และทิศทางการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ในการทำงาน และควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการแลกเปลี่ยนรู้ซึ่งกันและกัน
Downloads
References
ธานี ชาวสวน. (2564). รูปแบบการพัฒนาความสัมพันธ์ผู้นำกับผู้ตาม. วิทยานิพนธ์การศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปัทมา รูปสุวรรณกุล. (2562). การจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
พิชญ์สินี มะโน. (2562). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงใน ยุค digital disruption ต่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18 (1), 1-6
พิมพ์ปภัทร แก้วดี. (2565). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ภีรดา ศิลปชัย และณัฐชา ธำรงโชติ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและความมีประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรภายในหน่วยงานด้านชุมชนสัมพันธ์ของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 1(2-3), 217-235.
วรางคณา กาญจนพาที. (2556). ภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์กร : กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่7 กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.
กนก เพ่งจินดา.(2566).ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เขตบางกะปิ. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและวิจัย, 6(3-4).
พิมพ์ปภัทร แก้วดี.(2566).การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
วนัสสนันท์ บุญเพิ่มพูล.(2566).ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์การต่อการใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานขององค์การ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรม. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 1(1-3), 24-28.
แพว พานแพน.(2566).แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. วารสารมณีเชษฐาราม, 5(9-10)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.