การจัดการการสื่อสารงานประเพณีชักพระของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.61คำสำคัญ:
การจัดการการสื่อสาร, ประเพณีชักพระบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการสื่อสารงานประเพณีชักพระของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เกี่ยวกับ 1) นโยบายและแผนการจัดการการสื่อสาร 2) การดำเนินการจัดการการสื่อสาร 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นบุคลากรจากองค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความรู้ประสบการณ์ ในการสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ประเพณีชักพระ 16 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป
ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการรณรงค์ทางสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์งานประเพณีชักพระของอำเภอปากพะยูน วัฒนธรรมจังหวัดเป็นผู้กำหนด มอบหมายให้ทางวัฒนธรรมอำเภอรับผิดชอบดูแล โดยทางเทศบาลตำบลปากพะยูนเป็นผู้ดำเนินการเป็นหลัก เน้นมอบนโยบายผ่านผู้นำชุมชนทุกชมชนในอำเภอปากพะยูน แต่ไม่มีการจัดทำแผนการรณรงค์ทางการสื่อสาร เพราะถือเป็นงานประเพณีประจำปี 2) การดำเนินการจัดการการสื่อสาร มีการเลือกใช้สื่อที่มีการเข้าถึงได้ง่าย ใช้วิธีการสื่อสารแบบโน้มน้าวใจโดยการพูดเชิญชวน ลงพื้นที่ไปพูดคุย มีการทำกิจกรรมการรณรงค์ทางสื่อสาร โดยส่วนใหญ่จะใช้การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น มีสื่อมวลชนที่เข้ามามีส่วนช่วยเหลือ คือนักข่าวท้องถิ่นและวิทยุท้องถิ่น มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักในการรณรงค์ทางสื่อสาร โดยมีการติดตามประเมินผลด้วยวิธีการประชุมสรุปผลมากที่สุด 3) ปัญหาที่พบคือ การไม่ยอมรับสื่อช่องทางใหม่ ๆ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐค่อนข้างน้อย เวลาในการดำเนินกิจกรรมค่อนข้างน้อย ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่อง การจัดการการสื่อสาร มีอุปสรรค คือ การขาดความรู้เรื่องสื่อสารและไม่มีแผนดำเนินการ โดยข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานอื่น ๆ คือ จัดให้มีการประเมินผลการจัดงานทุกปี สร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ และการสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม
Downloads
References
Tourism and Sports Economic Division, Ministry of Tourism and Sports. (2023). Tourist Statistics. Retrieved from https://www.mots.go.th/more_news_ new.php?cid=411. Accessed June 1, 2024
Jitraporn Suthivorapongse. (2009). Public Relations Tactics. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Nattanan Wongprasert. (2014). Communications Strategy to Promote Tourism of Rub Bua Festival at Bang Phli, Samutpakan Province. Mass Communication Faculty of Journalism and Mass Communication. Thammasat University.
Tourism Authority of Thailand (TAT). (1998). the Role of the Tourism Industry in the Overall Economy of the Country. TAT Library.
Thanchanok Changruea.(2017).Communication for Community Engagement in Natural Resource Management Towards Sustainable Tourism: The Case of Tha Pru-Ao Thalane Community, Krabi Province. Master of Arts in Communication and Innovation. National Institute of Development Administration (NIDA).
Parichart Sthapitanonda. (2004). Research Methodology in Communication. (3rd Ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Surapong Sothanasathien & Athaporn Konvilai. (2007). the Status of Communication Management Knowledge in Thailand. Bangkok: Prasitpan & Printing Press
Phatthalung Provincial Office of Buddhism. (2021). Operational Plan of the Phatthalung Provincial Office of Buddhism for the Fiscal Year 2021 (p. 1). Retrieved from https://plg.onab.go.th/th/file/get/file/. Accessed June 12, 2024.
Rungnapa Rukwanna. (2014). Phatthalung Provincial Cultural Office. Retrieved from https://rungnaparukw anna.wordpress.com/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.