กระบวนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล ในเขตอำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.68คำสำคัญ:
โคก หนอง นา โมเดล, การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ, การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบโคกหนองนาโมเดลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา ในเขตอำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี และ (2) แนวทางการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา ในเขตอำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล ประจำปี พ.ศ. 2564 ของกรมการพัฒนาชุมชน จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 23 ครัวเรือน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง การสำรวจและสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปผล และอภิปรายผลตามทฤษฎีและปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้คำตอบการวิจัยตรงตามวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเกิดขึ้นจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกปัจจัยภายในประกอบด้วย 1) ความชื่นชอบทำการเกษตรของผู้เข้าร่วม 2) ความต้องการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน 3) ความพยายามในการทดลองสิ่งใหม่ 4) ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ 5) ความเชื่อมั่นที่มีต่อเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ปัจจัยภายนอกประกอบด้วย 1) สื่อประชาสัมพันธ์จากแหล่งต่างๆ 2) คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 3) คนรู้จักเป็นผู้แนะนำให้เข้าร่วมโครงการ 4) เป็นโครงการของรัฐบาลที่มีความน่าเชื่อถือ ด้านพัฒนาการเข้าร่วมโครงการ 1) ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องเข้ามาทำหนังสือยินยอมการใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินของตน 2) การฝึกอบรมทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล 3) ขุดปรับพื้นที่ต้นแบบตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล 4) การพัฒนาพื้นที่ตามต้นแบบตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล โดยใช้หลักสำคัญในการพัฒนา 4 ประการ ดังนี้ 1) การดำเนินกิจกรรมตามแนวทางที่โครงการกำหนด 2) การพัฒนาจะประสบผลสำเร็จเกิดขึ้นจากตัวของผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติด้วยตนเอง 3) การรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ 4) การศึกษาจากผู้เข้าร่วมโครงการที่ประสบความสำเร็จและนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตน แนวทางการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล ถูกออกแบบโดย ตัวผู้เข้าร่วมโครงการ ตามความมุ่งหวังที่จะพัฒนาพื้นที่ต้นแบบของตนเอง โดยอาศัยหลักคิดตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล เป็นตัวกำกับทิศทางในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งมีบทบาทและความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล ไปสู่เป้าหมายตามที่โครงการกำหนด
Downloads
References
กรมการพัฒนาชุมชน และคณะ. (2563). คู่มือการใช้แบบมาตรฐานในการทำงานปรับรูปแปลงที่ดิน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลัก ทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). เอกสารประกอบคำบรรยาย “ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2564). เอกสารประกอบคำบรรยาย “แนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล”. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). เศรษฐกิจพอเพียงกับภาคการเกษตร. กรุงเทพฯ: บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
กัญญกร รัตนเกื้อกังวาน. (2560). แรงจูงใจในการเปลี่ยนมาเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรของตลาดสีเขียวในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และกลุ่มเกษตรกรใน พื้นที่ใกล้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชยุต อินทร์พรหม. (2561). เศรษฐกิจพอเพียงกับการเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ทานา 1 ไร่ ได้ 1 แสน. วารสารพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 20(2) : 1-15.
ทองคูณ บุญศร กรรณิการ์ ลิขิตพัฒนะกุล และพัทธ์ธิดา บุญญานุสนธิ์. (2564). รูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.”ระดับครัวเรือนพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์. นครราชสีมา: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา.
พิเชฐ โสวิทยสกุล. (2562). เอกสารการบรรยาย การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาสู่เป้าหมายความ ยั่งยืนของโลก. กรุงเทพฯ: การไฟฟ้าฝ่ายผลิต.
มาริษา ศรีษะแก้ว สถาพร วิชัยรัมย์ และสากล พรหมสถิตย์. (2563). ศาสตร์พระราชา : เกษตรทฤษฎีใหม่ในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล”. วารสารสหวิทยาการจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 4(2) : 30-40.
รัชนีวรรณ จีนธรรม, ปัณณ์รภัส ถกลภักดี และอรวรรณ ภัสสรศิริ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 3(2) : 237-250.
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). คู่มือการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563-2565. กรุงเทพฯ: กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน. (2565). “แนวทางการพึ่งตนเองในการจัดเก็บน้ำระดับไร่นาตามแนวทางศาสตร์พระราชาในเขตปฏิรูปที่ดิน”. กรุงเทพฯ: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). เอกสารประกอบคำบรรยาย“แนวทางการดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล”. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
อัษฎาวุฒิ พฤฒิวรวงศ์. (2563). การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.