การออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537กรณีศึกษาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.71คำสำคัญ:
นาจกำกับดูแล, คำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง มีประเด็นที่ได้จากการศึกษา 3 ประการ ดังนี้ 1) นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล พ้นจากตำแหน่ง กรณี คือนายกองค์การบริหารส่วนตำบลขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 58/1 ตามมาตรา 64 (4) และกระทำการต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมายมาตรา 64/2 ตามมาตรา 64 (5) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เท่านั้นส่วนอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งนั้น จะมีอำนาจเฉพาะกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจงใจทอดทิ้งหรือละเลยไม่ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่อันจะเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เท่านั้น ดังนั้น อำนาจในการออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดจึงแตกต่างกัน 2) กรณีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 58/1 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร พ.ศ. 2562 ด้วย ส่วนกรณีพฤติการณ์ตามมาตรา 58/1 ดังกล่าว อาจเกิดขึ้นก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งหรือในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้3) การออกคำสั่งของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดโดยให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งนั้นเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น หากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวสามารถใช้สิทธิโดยการฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้เพราะพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 กำหนดให้อำนาจนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นที่สุดโดยไม่มีบทบัญญัติเรื่องการให้อุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
Downloads
References
เกริกเกียรติ ทิพย์ชัย. (2559). การควบคุม กำกับดูแลเอกชนจัดทำบริการสาธารณะโดยรัฐ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
โกวิทย์ พวงงาม. (2559) การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2462). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การกระจายอำนาจ แนวคิดและประสบการณ์จากเอเชีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานศาลปกครอง. (2563). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง เล่มที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
สำนักงานศาลปกครอง. (2565). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง เล่มที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
มาโนช นามเดช. (2559). การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า.
อภิรักษ์ แก้วพวง. (2565). สถานะทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยพนักงานราชการและลูกจ้างส่วนราชการ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.