การยกระดับมาตรฐานและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปลานิลลำปะทาวจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อุมาวดี เดชธำรงค์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สามารถ สินทร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • เสกสรรค์ สนวา คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.27

คำสำคัญ:

การยกระดับมาตรฐาน, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ปลานิล

บทคัดย่อ

          การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากปลานิลเนื่องจากตลาดปลานิลส่วนใหญ่จะขายปลีกและขายส่งปลานิลมีชีวิต หากมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ก็จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีผลผลิตจำหน่ายได้หลากหลายมากขึ้น และจะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้แก่เกษตรกร ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การเพาะเลี้ยงปลานิลกระชังลำปะทาวตำบลซับสีทอง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อยกระดับมาตรฐานและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปลานิลลำปะทาวจังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และวิจัยเชิงปริมาณเพื่อประเมินความพึงพอใจกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลกระชัง และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลานิล จำนวน 50 คน ใช้วิธีการตัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์การเพาะเลี้ยงปลานิลกระชังลำปะทาว ส่วนใหญ่เลี้ยงปลาเป็นรายได้หลักของครัวเรือน การบริหารจัดการฟาร์มปลานิล พบปัญหาหลัก คือด้านต้นทุนการผลิตที่อาหารมีราคาแพง การจัดจำหน่ายขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่เข้าไปรับซื้อเพียงช่องทางเดียว รวมถึงเกษตรกรยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย บริหารจัดการทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย ปัญหาปลาน็อกน้ำ และปลานิลตกเกรด เป็นต้น  2) การยกระดับมาตรฐานและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปลานิลลำปะทาวจังหวัดชัยภูมิ ได้ดำเนินการโดยจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ สถานที่ดำเนินการ : วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลานิลกระชังบ้านหัวเขื่อน ตำบลซับสีทอง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมาย : จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลกระชังบ้านหัวเขื่อน 50 คน  ผลการดำเนินงาน พบว่า สามารถส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลานิลจากปลานิลที่ตกเกรด และปลานิลน็อคน้ำ ตรงกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค สามรถสร้างองค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลานิลแดดเดียว ซึ่งผลผลิตจากการดำเนินโครงการครั้งนี้ ได้เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลานิล ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ปลานิลแดดเดียว ปลาร้าปลานิล และข้าวเกรียบปลานิล

Downloads

Download data is not yet available.

References

น้อย ชัยลาภ. (2564). ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงปลานิลกระชังเขื่อนลำปะทาว. สัมภาษณ์ : 13 ต.ค.2564.

เพียงแข ภูผายาง, ประมุข ศรีชัยวงษ์, นราศักดิ์ ภูผายาง, ธนากร แสงกุดเลาะ, ปาณิสรา หาดขุนทด และดวงใจ วิชัย. (2563). การส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปปลานิลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขื่อนลำปะทาว. ข้อเสนอโครงการวิจัยงบประมาณปกติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563.

เพียงแข ภูผายาง, นราศักดิ์ ภูผายาง และสัญชัย รำเพยพัด. (2564). ปัญหาการเลี้ยงปลานิลกระชังในเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(4) : 388-397.

แผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2566-2570. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2566-2570. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.chaiyaphum.go.th/page_other/Plan_cyp2561-2564.php. สืบค้น 22 เมษายน 2565.

แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2565-2569 (ฉบับทบทวน). (2565) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2565-2569 (ฉบับทบทวน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9844. สืบค้น 22 เมษายน 2565.

ภัครพล อาจอาษา. (2564). การวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้วยเทคนิคการจัดกลุ่มข้อมูล. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วันเพ็ญ แสงทองพินิจ. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลานิลหยองเสริมแคลเซียมจากก้างปลานิล. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่. 5(3) : 69-83.

สมพร ชัยลาภ. (2564). แนวทางการพัฒนาการเลี้ยงปลานิลกระชังเขื่อนลำปะทาว. สัมภาษณ์ : 13 ต.ค.2564.

Ilori, M.O, J.S. Oke and S.A. Sanni. (2000). Management of New Product Development. In Selected Food Companies in Nigeria. Technovation. 20(14) : 333-342.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-07-2024

How to Cite

สุธรรมดี ฉ. ., เดชธำรงค์ อ., สุธรรมดี ด., สินทร ส., & สนวา เ. (2024). การยกระดับมาตรฐานและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปลานิลลำปะทาวจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 47–66. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.27