รูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.65คำสำคัญ:
รูปแบบ, เกษตรอินทรีย์, การบริหาร, ต้นทุนผลิตภัณฑ์บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่องรูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคของการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์2)เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์3)เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ โดยมีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์ และสามารถทำให้วิสาหกิจชุมชนดำรงอยู่ต่อไปได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป สำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา มีสถานภาพเป็นสมาชิกของกลุ่ม มีระยะเวลาการดำเนินการกลุ่ม ระหว่าง 1-5 ปี สมาชิกแต่ละกลุ่มมีจำนวน 31 คนขึ้นไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มส่วนใหญ่ ต่ำกว่า 20,000 บาท และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มต่ำกว่า 10,000 บาท การบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ ด้านการผลิต วัตถุดิบส่วนใหญ่ผลิตเองและรับซื้อจากสมาชิกในกลุ่มและคนในชุมชน มีค่าแรงงานที่เกิดจากกระบวนการแปรรูปจ่ายให้กับสมาชิกในกลุ่มและภายนอกกลุ่ม มีค่าใช้จ่ายในการผลิตส่วนใหญ่เป็นค่าสาธารณูปโภค และการบริหารจัดการกลุ่มยังเป็นแบบหลวมๆยังไม่เป็นระบบ มีเพียงบางกลุ่มที่จัดทำบัญชี แต่ยังทำไม่ต่อเนื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์นั้น กลุ่มควรเน้นเรื่องโครงสร้างการบริหารงานที่เป็นระบบ มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อทราบผลประกอบการที่แท้จริง มีเครือข่ายการผลิต การแปรรูป และการตลาด พัฒนาทักษะบุคลากรทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการขาย มีการนำเทคโนโลยีที่จำเป็นมาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ อันนำไปสู่การลดรายจ่ายและสร้างรายได้เพิ่ม
Downloads
References
กิตติยา ปริญญาสุรเดช, จตุรวิทย์ ศศิธรานนท์ และฌานนพ สืบพิลา. (2564). การประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนการผลิต กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านสรีแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 15(2) : 327-336
ฉัตรวรัญซ์ องคสิงห. (2563). ข้าวอินทรีย์ นวัตกรรมสังคมการเกษตรสู่มาตรฐานสากล.National Conference Nakhonratchasima College. 7 : 210-218
บุรัสกร โตรัตน์. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรรายย่อย กรณีศึกษาเครือข่ายเกษตรกรตำบลท่าตำหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 10(2) : 59-71
พิกุล พงษ์กลาง. (2559). แนวทางการลดต้นทุนของการปลูกข้าว. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ 10(2) : 17-26
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์, สุภาวดี ขุนทองจันทร์,สุขวิทย์ โสภาพล และสุมาลี เงยวิจิตร. (2556)การศึกษาบริบทของชุมชนในการคำนวณต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(1) : 106-124
สร้อยสุดา แสงจันทร์. (2560). แนวทางการเพิ่มผลผลิต ของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์(ผักปลอดสารพิษ)ของสมาชิกชุมชนบ้านถ้ำเสือ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. ชลบุรี :มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิญญา เชื้อช่างเขียน และ อนุพงษ์ วงศ์ไชย. (2561). ต้นทุนและผลตอบแทนในการเพาะปลูกข้าวโพดหวานฝักสดของเกษตรกรภายใต้ระบบพันธะสัญญากับศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ. แก่นเกษตร46 ฉบับพิเศษ 1 : 683-689
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.