การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อพืชหลังนา (แตงโม) กรณีศึกษาผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.34คำสำคัญ:
การตัดสินใจซื้อ, ส่วนประสมทางการตลาด, แตงโม, จังหวัดอุบลราชธานีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อแตงโม ในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแตงโมของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อพืชหลังนา (แตงโม) โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อพืชหลังนา (แตงโม) จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.5 โดยมีอายุอยู่ในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ 63.50 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 85.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 53.00 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 55.50 และมีจำนวนสมาชิก 5- 7 คน ร้อยละ 68.80 ซึ่งพฤติกรรมการซื้อแตงโมของผู้บริโภค ซื้อในช่วงเย็น ร้อยละ 44.30 การซื้อ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 80.80 ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่ำกว่า 50 บาท ร้อยละ 43.00 ตัดสินใจตนเอง ร้อยละ 76.50 ตลาดสด ร้อยละ 62.50 ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเอง ร้อยละ 91.80 โดยในภาพรวมส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.35 กระบวนการตัดสินใจซื้อแตงโมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.21 ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแตงโม พบว่ามีตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปร ที่สามารถพยากรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ซึ่งสามารถพยากรณ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแตงโม (R2) ได้ร้อยละ 78.40 ตัวแปรทั้ง 3 ตัวแปร มีค่าเป็นบวก แสดงว่าเมื่อผู้บริโภคมีด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดมากขึ้นจะมีผลให้ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อพืชหลังนา (แตงโม) ผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี มากขึ้นเช่นกัน
Downloads
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก AGI-MAP. อุบลราชธานี : กรมพัฒนาที่ดิน.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). การปลูกพืชหลังนา. กรุงเทพฯ : บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). คู่มือโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร.
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ทำไมเกษตรกรไทยถึงจน และแก้ไขได้อย่างไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : https://www.bangkokbiznews.com/blogs/. สืบค้น 8 สิงหาคม 2566.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมี่ยมกรณีศึกษาผู้บริโภคในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ภรณี แย้มพันธ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปตราดอยคำ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : ธีรฟิล์มและไซเท็กซ์
ศิตาพร สืบอักษร และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผัก/ผลไม้สดของผู้บริโภค กรณีศึกษา ร้านโกลเด้นเพลซ สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรีสุภา สหชัยเสรี. (2546). การตลาดในยุคเศรษฐกิจใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ทิปปิ้งพอยท์.
สุดาพร กุณฑลบุตร. หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2549.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.oae.go.th. สืบค้น 26 มกราคม 2566.
สำนักเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี. (2565). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2561-2565). อุบลราชธานี. สำนักเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี.
ไสว อ่ำทอง. (2546). ทัศนคติของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วารสารวิสัญญี. 44(1) : 36-42.
อาทิตย์ อุทธวัง. (2560). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลไม้สดตัดแต่งในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อดุลย์ ก๋องระบาง. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลไม้สดของผู้บริโภคในตลาดสดแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Assael, Henry. (1995). Customer Behavior and Marketing Action. P210,213,217. 5th ed. The United of America: International Thomson Publishing.
Kotler, P. Marketing management. Upper Saddle River : Pearson Prentice Hall. 2000.
Istiqomatin, T., Setiadi, A., & Ekowati, T. 2021. “Effect of Marketing Mix on
Consumer Purchase Decisions to Buy Cavendish Banana at Modern Markets in Semarang. Agriecobis,” Journal of Agricultural Socioeconomics and Business. 4,2 (October 2021) : 120-132.
Ulfah, I., Sumarwan, U., & Nurrochmat, D. R. 2016. “Marketing mix factors that influence the desire to purchase fruit beverages in the city of Bogor,” Indonesian Journal of Business and Entrepreneurship (IJBE), 2,1 (January
Yanpitak, P. ., Tabsuri, P. ., & Teerachaiyapat, C. . (2023). Digital Marketing for Consumer Repurchases. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(1), 147–162. https://doi.org/10.14456/iarj.2023
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.