การเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครของภาคีเครือข่ายในการดูแลฟื้นฟูเยียวยาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มคนเปราะบางอันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดสระบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.24คำสำคัญ:
พัฒนาศักยภาพ, อาสาสมัคร, คุณภาพชีวิต, คนเปราะบางบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครของภาคีเครือข่ายในการดูแล ฟื้นฟูเยียวยาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนเปราะบาง อันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิค -19 จังหวัดสระบุรี 2) เพื่อเสริมสร้างทักษะพัฒนาแกนนำอาสาสมัครของภาคีเครือข่ายในการดูแล ฟื้นฟูเยียวยาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนเปราะบาง อันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิค -19 จังหวัดสระบุรีและ 3) เพื่อสร้างเครือข่ายและจัดเวทีสาธารณะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแกนนำเครือข่าย ในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มคนเปราะบางด้านสวัสดิการสังคมของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ จังหวัดสระบุรี อันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิค -19 ในการวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การสนทนากลุ่ม และ 3) การจัดเวทีสาธารณะ เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนแนะ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแกนนำทั้ง 13 อำเภอ
ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า 1) เพื่อเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพแกนนำ ด้านภาวะผู้นำต้องทำให้เป็นตัวอย่างเห็นชัดเจน ด้านจิตอาสาต้องอธิบายให้สมาชิกใหม่มีความเข้าใจถึงการ ที่จะเข้ามาร่วมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน ด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่ที่มาประชุมหรือ ทำกิจกรรมร่วมกันมีสุขภาพดี ด้านความรู้ไม่จำเป็นต้องจบระดับปริญญาซึ่งแกนนำมีองค์ความรู้ อยู่ในตัวเอง โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเวลา แกนนำจะต้องมีเวลาในทำกิจกรรม โดยจะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า และ 2) พบว่าการเสริมสร้างทักษะพัฒนาแกนนำผู้ปฏิบัติงาน มีความรู้เฉพาะในส่วนที่ตนเองรับผิดของเท่านั้น ยังไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจน ขาดการบูรณการในการทำงานร่วมกันและความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ งบประมาณยังไม่พอเพียงในการดำเนินกิจกรรม และขาดการสนับสนุนเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมงานระดับท้องถิ่น สำหรับแนวทางการแก้ไข เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควรปรับปรุงและพัฒนาบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเองให้มีความพร้อมทั้งในด้านความรู้และความเข้าใจอย่างชัดเจน
Downloads
References
กรมการปกครอง. (2563). แผนปฏิบัติราชการกรมการปกครอง พ.ศ.2563 – 2565. กรุงเทพฯ:กระทรวงมหาดไทย.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
จิราพร สามัญ. (2558). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐณัชากร ศรีบริบูรณ์. (2559). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ อุดมสิน. (2557). รูปแบบ และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร หน่วยที่ 2 ในการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมพันธ์ เตชะอธิกและคณะ. (2559). ศักยภาพและเครือข่ายผู้นำชาวบ้าน “คู่มือและทิศทางการพัฒนาผู้นำชาวบ้านเพื่อแก้ปัญหาชนบท”. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสระบุรี. (2561). รายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสระบุรี. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสระบุรี
สุภาวดี จิตติรัตนกุล. (2557). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรี กรณีศึกษาเทศบาลเมืองพังงา อําเภอเมือง จังหวัดพังงา. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kim Hill. (2019). Moving beyond Stereotypes of Men's Foraging Goals. Current Anthropology. 51(2) : 265-267.
Orem, D. E. (2018). Nursing: Concepts and Practice. 6th ed. St. Louis, MO : Mosby.
Peter M. Senge (2017). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning. New York : McMillan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.