ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ กรณีศึกษา : ผ้าไหมมัดหมี่ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พรชนัน ทุลขุนทด คณะนิติศาสตร์และการปกครอง มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.45

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การทอผ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ กรณีศึกษา:ผ้าไหมมัดหมี่ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ และศึกษาการมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ กรณีศึกษา:ผ้าไหมมัดหมี่ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multiple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence :IOC) อยู่ระหว่าง 0.9 -1.00 มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.95 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ กรณีศึกษา:ผ้าไหมมัดหมี่ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิพบว่า ประเภทของลวดลายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และการออกแบบลวดลายมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การมีส่วนร่วมการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ กรณีศึกษา:ผ้าไหมมัดหมี่ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิพบว่า ผู้นำมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การส่งเสริมกิจกรรมของชุมชน การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การปลุกจิตสำนึกของคนในชุมชน และการจัดการความรู้มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ปัจจัยทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์ R2 = 0.761 คิดเป็นร้อยละ 76.10

Downloads

Download data is not yet available.

References

ศิริพร บุญชู และนันทวรรณ รักพงษ์. (2555). ภูมิปัญญาการผลิตเส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน. กรุงเทพฯ : กรมหม่อน

สุนทรี ไชยะบุตร, ทองเหลือง เมตตาริกานนท์, นารี บุตรวงศ์, ปาริชาติ พานิชย์, มะนิจันทร์ สุวะรัตน์, ปาริชาติ สุชะนะชา, หล่อน สานนท์ และเพลินจิต นามหงส์. (2556) การใช้ภูมิปัญญาด้านการทอผ้าเพื่อเพิ่มรายได้ของกลุ่มทอผ้า บ้านหนองยาง ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

หทัยรัตน์ บุณยรัตพันธุ์ เงินทอง. (2558). ปัญหาของกลุ่มผลิตผ้าไหมมัดหมี่ในตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 9(1) : 100-117.

วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์. (2559). ยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อ สร้างคุณค่าตราสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(2) : 185-192.

ยุภาพร เจริญวัฒนมณีชัย. (2559). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ กรณีศึกษา ผ้าไหมมัดหมี่ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. หลักสูตรพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอื้ออนุช ถนอมวงษ์, ทิพย์วัลย์ สุรินยา, งามลมัย ผิวเหลือง, นรุตม์ พรประสิทธิ์ และวิเชียร ปรีชาธรรมวงศ์. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสมาคมนักวิจัย. 23(1) : 115-126.

อุทิศ ทาหอม, จริยา ดวดไธสง และอันธิกา คงประโคน. (2561). แนวทางการบริการจัดการกลุ่มทอผ้าไหม บ้านหนองไทรงาม ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพัฒนศาสตร์. 1(1) : 97-129.

เนตรชนก คงทน, พีรวิชญ์ คำเจริญ และจิรพัฒน์ โทพล. (2561). การสื่อสาร การตลาดผ้าไหมอารยธรรมขอม และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหม บ้านตะคร้อเหนือ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย. 12(1) : 56-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

How to Cite

ทุลขุนทด พ. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ กรณีศึกษา : ผ้าไหมมัดหมี่ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 367–378. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.45

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่