บทบาทสำนักข่าวออนไลน์ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.44คำสำคัญ:
บทบาทสำนักข่าวออนไลน์, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสำนักข่าวออนไลน์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทสำนักข่าวออนไลน์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร เป็นวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยในกรุงเทพมหานครและติดตามข่าวสารของสำนักข่าวออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบผสม (Mixed-method Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOWA) และ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศและอาชีพแตกต่างกันจะมีการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นอายุและการศึกษาไม่แตกต่าง 2) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสำนักข่าวออนไลน์ ได้แก่ ความถี่และระยะเวลาแตกต่างกันจะมีการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) บทบาทสำนักข่าวออนไลน์มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
References
ณัฐสุวัชร์ เส็งกิ่ง. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภัทริกา จุฑางกูร. (2563). อิทธิพลของสื่อที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองเมืองปัก ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการเมืองการปกครอง. 12 (1) : 243-261.
ภูริทัศน์ ชาติน้ำเพชร. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ. 2(1) : 42-55.
เลอภพ โสรัตน์, สมาน งามสนิท, บุญเรือง ศรีเหรัญ และชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2554). บทบาทสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 5(3) : 117-129.
วันชัย สุขตาม จิรายุ ทรัพย์สิน และสุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2563). รัฐศาสตร์ แนวคิดพื้นฐานสู่การปฎิบัติในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : โฟร์เพซ.
วุฒิพร ลิ้มวราภัส .(2562). กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษาโพสต์ทูเดย์และแนวหน้า. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศรุต อดิการิ. (2564). บทบาทหน้าที่สื่อของผู้สื่อข่าวการเมืองภาคประชาชน : สำนักข่าวออนไลน์ The Reporters. (สารนิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี2565. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/iub2022.aspx. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2566.
สุพัฒ ผาสุโก. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตยของประชาชนอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารธรรมทรรศน์. 16 (3) : 177-190.
อัญชลี เอกศาสตร์.(2555). การแสวงหาข่าวสารทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊กและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โอภาส จิตระยนต์ .(2565). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cochran,W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.Inc.
Friedrich-Ebert-Stiftung Thailand Office (2013). บทบาทและหน้าที่ของสื่อในภาวะการเมืองขัดแย้ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.supinya.com/wp-content/uploads/2013/12/Media-Freedom-and-Quality_Final.pdf. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2566.
Jantima Kheokao & Dhanaraj Kheokao. (2023). Thailand Digital News Report 2023 [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://reutersinstitute.politics.ox.ac.uk/digital-news-report/2023/thailand. สืบค้น 28 พฤศจิกายน 2566.
McCombs, M.E. and Becker, L.B. (1979). Using Mass Communication Theory. New Jersey : Princ-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.