การพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเลี้ยงนกฟอพัสเพื่อความสะดวกสบายโดยใช้สมาร์ทโฟนในการควบคุมสำหรับผู้เพาะเลี้ยงมือใหม่

ผู้แต่ง

  • อานนท์ เพ็ชรอาภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • อัสนา วรารักษ์ คณะการสื่อสารดิจิทัล มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • สุรีย์พร แดงมูล คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • ฐิตาพร นโมบุญราศี คณะวิเทศธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.29

คำสำคัญ:

ฟาร์มอัจฉริยะ, นกฟอพัส, สมาร์ทโฟน, อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, ผู้เพาะเลี้ยงมือใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะให้สะดวกสบายสำหรับผู้เพาะเลี้ยงมือใหม่ เพื่อออกแบบระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และเพื่อทดสอบสมรรถนะการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสร้างโรงเรือนเพาะพันธุ์แบบปิดเพื่อการออกแบบระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นผ่านแอปพลิเคชันการทำฟาร์มอัจฉริยะ สามารถปรับค่าอุณหภูมิและความชื้นผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิและความชื้นตามค่าที่ตั้งไว้ 30–33 องศาเซลเซียส และ 55–65 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งเป็นอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมกับโรงเรือนเพาะพันธุ์นกฟอพัส ผลการวิจัยพบว่า จากการเก็บรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือน และภายนอกโรงเรือน ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566 ด้วยเซนเซอร์ SHT30 ส่งค่าอุณหภูมิและความชื้นมากเก็บบันทึกที่ Google Sheet ทุกๆ 5 นาที อุณหภูมิและความชื้นภายนอกโรงเรือนจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของแต่ละฤดู ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงมือใหม่ที่ไม่มีความชำนาญหรือดูอาการป่วยของนกไม่เป็นอาจทำให้เกิดการสูญเสียได้ โดยระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือน สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ผ่านโทรศัพท์มือถือได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องในระดับที่ยอมรับได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Astutik, Y., Murad, Putra, G.M.D., & Setiawati, D.A. (2019). Remote monitoring systems in greenhouse based on NodeMCU ESP8266 microcontroller and Android. In AIP Conference Proceedings. 2199(1) : 030003.

Balducci, F., Impedovo, D., & Pirlo, G. (2018). Machine learning applications on agricultural datasets for smart farm enhancement. Machines. 6(3) : 38.

Caria, M., Schudrowitz, J., Jukan, A., & Kemper, N. (2017). Smart farm computing systems for animal welfare monitoring. In 2017 40th International Convention on Information and Communication Technology, Electronics and Microelectronics (MIPRO) (pp. 152-157). IEEE.

Kaewmard, N., & Saiyod, S. (2014, October). Sensor data collection and irrigation control on vegetable crop using smart phone and wireless sensor networks for smart farm. In 2014 IEEE Conference on Wireless Sensors (ICWiSE) (pp. 106-112). IEEE.

Muangprathub, J., Boonnam, N., Kajornkasirat, S., Lekbangpong, N., Wanichsombat, A., & Nillaor, P. (2019). IoT and agriculture data analysis for smart farm. Computers and electronics in agriculture. 156 : 467-474.

Pitakphongmetha, J., Boonnam, N., Wongkoon, S., Horanont, T., Somkiadcharoen, D., & Prapakornpilai, J. (2016, December). Internet of things for planting in smart farm hydroponics style. In 2016 International Computer Science and Engineering Conference (ICSEC) (pp. 1-5). IEEE.

Sariwongchan R. (2012). Blossom-headed Parakeet: Raising and caring baby parrots. Searched when March 25, 2022, from https://www.dnp.go.th/fca16/file/lev5dabk6mzw27v.pdf.

Serikul, P., Nakpong, N., & Nakjuatong, N. (2018). Smart farm monitoring via the Blynk IoT platform: case study: humidity monitoring and data recording. In 2018 16th International Conference on ICT and Knowledge Engineering (ICT&KE) (pp. 1-6). IEEE.

Srivastava, P., Bajaj, M., & Rana, A.S. (2018, February). Overview of ESP8266 Wi-Fi module based smart irrigation system using IOT. In 2018 Fourth International Conference on Advances in Electrical, Electronics, Information, Communication and Bio-Informatics (AEEICB) (pp. 1-5). IEEE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2024

How to Cite

เพ็ชรอาภรณ์ อ., วรารักษ์ อ., แดงมูล ส., & นโมบุญราศี ฐ. (2024). การพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเลี้ยงนกฟอพัสเพื่อความสะดวกสบายโดยใช้สมาร์ทโฟนในการควบคุมสำหรับผู้เพาะเลี้ยงมือใหม่. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 91–108. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.29