ศักยภาพทุนทรัพยากร วัฒนธรรมชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ประภาพร บุญปลอด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
  • นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
  • เกศศิริ นวลใยสวรรค์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
  • ระเบียบ วุฒิปิยพงศ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
  • สุรีย์ฉาย สุคันธรัต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.60

คำสำคัญ:

ทรัพยากร, วัฒนธรรม, ศักยภาพ, เศรษฐกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทุนทรัพยากร วัฒนธรรมของชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัด สุรินทร์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทุนทรัพยากร วัฒนธรรมชุมชนสู่การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพทุนทรัพยากรประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ การเงินชุมชน และศักยภาพทุนวัฒนธรรม ประกอบด้วย ศาสนสถาน ประเพณี ภูมิปัญญา และดนตรีพื้นบ้าน แนวทางการพัฒนาศักยภาพทุนทรัพยากร วัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชน โดยการนำทุนทรัพยากร วัฒนธรรมที่มีความหลากหลายมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ พัฒนาองค์ความรู้และทักษะผู้ประกอบการ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีทั้งภายในชุมชนกับภายนอกชุมชน โดยใช้ศักยภาพของทุนทรัพยากร วัฒนธรรมเป็นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัญญรัตน์ แก้วกมล และคณะ. (2564). “การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(1) : 75-91.

ขวัญเรือน บุญกอบแก้ว. (2562). “แนวทางการปรับใช้ทุนวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชน บ้านวัง หอน ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(ฉบับพิเศษ). 188-209.

วันชัย ธรรมสัจการ และคนอื่น ๆ. (2565). “ทุนชุมชนและศักยภาพในการจัดการตนเองเพื่อกาพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น”. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยนครศรีธรรมราช. 14(1) : 22-32.

วาสนา อาจสาลิกร และคณะ. (2563). “ทุนทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริมศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถีไทดำ บ้านวัง ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร”. วารสารพิกุล. 18(2) : 270-278.

เรณู เหมือนจันทร์เชย. (2558). ทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(2): 231-247.

อัญธิชา มั่นคง. (2560). “บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา”. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 12(39): 90-100.

อุทิศ ทาหอม. (2564). “การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานวัฒนธรรมเพื่อลดความเลื่อมล้ำทางสังคม”. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 16(2): 55-73.

อารียา บุญทวี และคณะ. (2561). “แนวทางการพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา”. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. 20(1) : 67-85.

อรวรรณ เกสร. (2565). การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนกับกฎหมายที่ควรรู้ตอนที่ ๑.https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_ ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2169.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

บุญปลอด ป. ., นิธิชัยอนันต์ น., นวลใยสวรรค์ เ., วุฒิปิยพงศ์ ร., & สุคันธรัต ส. (2024). ศักยภาพทุนทรัพยากร วัฒนธรรมชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(3), 205–220. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.60