การพัฒนาทักษะความสามารถและส่งเสริมโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเองให้ดำรงอยู่อย่างมีความหมายในพื้นที่ชายแดน จังหวัดสุรินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.55คำสำคัญ:
ทักษะความสามารถ, โอกาสการทำงาน, การพึ่งพาตนเอง, การดำรงอยู่อย่างมีความหมายบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะความสามารถและส่งเสริมโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเองให้ดำรงอยู่อย่างมีความหมายในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์1.เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุตามความเหมาะสม 2 เพื่อเป็นแนวทางการสร้างโอกาสพึ่งพาตนเองให้ดำรงอยู่อย่างมีความหมาย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแนวชาติพันธุ์วรรณนาและผสมผสานเชิงปริมาณ จากการเก็บข้อมูลพื้นที่ชายแดนอำเภอกาบเชิงเป็นหลัก ร่วมกับอำเภอบัวเชด อำเภอพนมดงรักและอำเภอสังขะ ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างเจาะจงผู้สูงอายุ และหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมด้วย นำมาสังเคราะห์หาแนวทางตามวัตถุประสงค์โดยการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีสามารถทำงานในกิจวัตรประจำวันได้ ค่าเฉลี่ยที่ 4.33 ในระดับมากพอใจในสุขภาวะของตนปานกลางแม้ว่ามีโรคประจำตัวบ้างไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการทำงาน ด้านจิตใจ พบว่า ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.69 - 4.33 ในระดับมากนั่นคือ ผู้สูงอายุมีความสุข สงบมีสมาธิดี มีความพึงพอใจกับตนเอง ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่ามีความพึงพอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ในระดับที่มากโดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.67 - 4.43 ด้านเศรษฐกิจ พบว่ายังมีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อสร้างอาชีพ สร้างงานที่เหมาะสมให้กับตัวเองมาก แม้ว่าความต้องการมีรายได้นั้นอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งพอดีกับค่าใช้จ่าย แต่การเก็บออมนั้นอยู่ในระดับน้อยที่ 2.7 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งสอดคล้องกับข้อคิดเห็นในการสนทนากลุ่มพบว่า ผู้สูงอายุมีจิตใจอ่อนโยน มีใจบุญกุศล เข้าวัดฟังธรรม มีความรักมีเมตตาปรารถนาอยากช่วยเหลือสังคม การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุย่อม ให้โอกาสเขาได้ทำงานพร้อมช่วยสนับสนุนการออมในบั้นปลายชีวิตก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย และเป็นข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ควรส่งเสริมตลาดผลิตภัณฑ์ของผู้สูงอายุ สร้างเครือข่าย เพื่อการดำรงอยู่อย่างมีความหมายในสังคมและชุมชน
Downloads
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560 ). “สถิติผู้สูงอายุ”. http://dop.th/th/know/side.
นนทยา อิทธิชินบัญชร. (2559). แนวทางการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับ
ผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(1) : 111-121.
รายงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. (2562). “ผู้สูงอายุ”. https://3doctorhss.moph.go.th.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2560). แปลงผลการวิจัยสู่การพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ. กรุงเทพ ฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนันต์ อนันตกูล. (2560). สังคมสูงวัย...ความท้าทายประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนัก
ธรรมศาสตร์และการเมืองราชบัณฑิตยสภา.
Cowgill. (1974). The Aging of Populations and Socieeties. Political Consequences of
Aging. (Vol.415) : 1-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.