การเชื่อมโยงกลุ่มอาชีพและตลาดงานที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมโอกาสในการส่งต่อภูมิปัญญาโดยผู้สูงอายุสู่เครือข่ายพหุวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ศรัญญา นาเหนือ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุรีย์ฉาย สุคันธรัต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จิรายุ ทรัพย์สิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วันชัย สุขตาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สิริพัฒถ์ ลาภจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.41

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, อาชีพ, ภูมิปัญญา, พหุวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเชื่อมโยงกลุ่มอาชีพและตลาดงานที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมโอกาสในการส่งต่อภูมิปัญญาโดยผู้สูงอายุสู่เครือข่ายพหุวัฒนธรรม ชุมชนบ้านตะเคียน ต.ตะเคียน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เป็นการวิจัยเป็นแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บแบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับตัวแทนผู้สูงอายุในชุมชนเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 คน การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า การเชื่อมโยงกลุ่มอาชีพและตลาดงานที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมโอกาสในการส่งต่อภูมิปัญญาชุมชนโดยผู้สูงอายุสู่เครือข่ายพหุวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะเคียน ผู้สูงอายุในชุมชนใช้วัฒนธรรมเดียวกันที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์เขมร ลาว กูย ในการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ มีอาชีพทำงานด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก การสร้างงานจะเกิดจากกิจกรรมในชุมชนโดยเฉพาะกิจกรรมทางศาสนา และการทำกิจกรรมร่วมกันผ่านช่องทางในการเรียนของโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสุขภาวะ วัดสันติวิเวก ต. ตะเคียน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ด้านโอกาสในการเชื่อมโยงกลุ่มอาชีพและตลาดงานที่เกิดจากภูมิปัญญาชุมชนโดยผู้สูงอายุ จากศักยภาพของคนในวัยแรงงานไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ โดยการสำรวจตัวเองและประเมินได้มีระดับความคิดเห็นใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ ในภาพรวมนั้นอยู่ในระดับปานกลาง โดยโอกาสในด้านสังคมสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( =3.76) โอกาสด้านสุขภาพกาย  ( =3.56) และโอกาสด้านจิตใจ ( =3.52)  แสดงให้เห็นว่าการเข้าสังคมหรือรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมในชุมชนอยู่เสมอและมีสภาพความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม  สำหรับผู้สูงอายุที่มีศักยภาพที่พร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ กลับมีความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตแบบมีความสุข สงบ และค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ( =3.10) พบว่า มีความต้องการที่จะร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง ใช้จ่ายตามความจำเป็น มีความสามารถหรือฝีมือในการสร้างรายได้ให้ตนเอง การออม อยู่ในระดับปานกลาง และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาในด้านอาชีพแก่ชุมชนเพื่อให้เกิดการสร้างงานในชุมชนอยู่ในระดับน้อย

Downloads

Download data is not yet available.

References

เจษฏา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(3) : 94-105.

โชติกา สิงหาเทพ, ธนิกานต์ ศรีจันทร์ และเสาวนีย์ จันทสังข์. (2561). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : สถาบันพระปกเกล้า.

นนทยา อิทธิชินบัญชร. (2559). แนวทางการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(1) : 111-121.

ภาวดี ทะไกรราช. (2558). “การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ.”. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.7(1) : 39-61.

ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน, นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พหุนนท์. (2561). ปัจจัยด้านการประกอบอาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม : งานวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. Veridian E-Journal, Silpakorn University ISSN 1906-3431. 11(2) : 3280-3294.

Hampson, J. (1985). Elderly People and Social Welfare in Zimbabwe. Ageing and Society. 5(1) : 39-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2024

How to Cite

นาเหนือ ศ., สุคันธรัต ส., ทรัพย์สิน จ., สุขตาม ว., & ลาภจิตร ส. (2024). การเชื่อมโยงกลุ่มอาชีพและตลาดงานที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมโอกาสในการส่งต่อภูมิปัญญาโดยผู้สูงอายุสู่เครือข่ายพหุวัฒนธรรม. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 305–322. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.41