แนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาเพื่อการขอรับรองฮาลาลสู่การส่งออกตลาดอาเซียน
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.26คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, ผู้ประกอบการ, ฮาลาล, ตลาดอาเซียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการขอรับรองฮาลาลสู่การส่งออกตลาดอาเซียน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสินค้าประเภทอาหาร อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 13 ผลิตภัณฑ์ จากผู้ประกอบการ 13 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ และร้อยละ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานพัฒนาชุมชน ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 48 คน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการทางการพัฒนาหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของผู้ประกอบการบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา เพื่อการขอรับรองฮาลาลสู่การส่งออกตลาดอาเซียน
ผลการวิจัยพบว่าผลการประเมินสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตามข้อกำหนดจากระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกิจการฮาลาล พ.ศ.2558 ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบเพื่อการรับรองฮาลาล ได้แก่ ด้านสถานประกอบการ ด้านวัตถุดิบ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ และการเก็บรักษา ด้านกระบวนการผลิต ด้านผู้ประกอบการและพนักงาน ด้านการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และการขนส่ง และด้านการจัดจำหน่าย โดยเรียงลำดับผลิตภัณฑ์ที่มีข้อที่ผ่านจากมากไปหาน้อยดังนี้ ปลาส้ม รองลงมาได้แก่ ข้าวสารอินทรีย์ ท้องม้วน ชาบัว กล้วยฉาบบ้านโคกสะอาด และพริกแกง ตามลำดับ ส่วนข้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้นำมาสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายขอรับรองฮาลาลสู่การส่งออกตลาดอาเซียน ได้แก่ 1) พัฒนาสถานประกอบการ ต้องแยกเป็นสัดส่วนเพื่อไม่ให้ปนเปื้อนและควบคุมความสะอาด ดังนั้นควรจัดพื้นที่เพื่อจัดทำสถานที่ผลิตบ้านสมาชิกคนใดคนหนึ่ง และระดมทุนในกลุ่มเพื่อจัดทำโรงเรือนใช้เป็นสถานประกอบการการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล 2) อุปกรณ์ ต้องไม่ใช้ร่วมกับการผลิตอาหารอื่น ๆ และสิ่งที่ต้องห้ามตามหลักการศาสนาอิสลาม ดังนั้นผู้ประกอบการการระดมทุนเพื่อจัดหาอุปกรณ์สำหรับการผลิตสินค้าของกลุ่ม และผู้ประกอบการรายเดียว ต้องมีการบริหารจัดการเงินในกิจการเพื่อให้มีทุนในการซื้ออุปกรณ์ไว้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การส่งเสริมและสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับผู้ประกอบกอบการ และ 3) ความรู้เรื่องมาตรฐานฮาลาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนจัดหาวิทยากรให้ความรู้มาตรฐานฮาลาลผ่านกระบวนการอบรมให้สมาชิกในกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และผู้ผลิตที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบธุรกิจในการจัดการและควบคุมกระบวนการผลิตให้ถูกต้องตามมาตรฐานฮาลาล
Downloads
References
จรัสศรี ปิยไพร. (2557). ประเภทสินค้า OTOP. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://jarassari2524. wordpress.com/2014/04/29/ประเภทสินค้า-otop/. สืบค้น 10 มิถุนายน 2564.
ชนัญรักฒ์ สุวรรณวัฒน์. (2560). การศึกษาความรู้ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจอาหารฮาลาลของชุมชนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารสารสนเทศ. 16 : 99-112.
ฐิติมา วงศ์อินคาและคณะ. (2558). การวิเคราะห์โซ่คุณค่าอาหารฮาลาล. วารสารการขนส่งและ โลจิสติกส์. 8 (8) : 1-11.
ทิชากร เกสรบัว. (2556). แนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกในตลาดอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 30(2) : 155-174.
ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP. วารสารนักบริหาร Executive Journal. 34(1) : 177-191.
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอานสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน. (2560). ฮาลาลไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://thaibizchina.com/wp-content/uploads/ 2018/11/book-halal-th.pdf. สืบค้น 10 มิถุนายน 2564.
สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย. (2562). ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการกิจการฮาลาล พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย.
สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์ และอรรนพ เรืองกัลป์ปวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ของผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7(2) : 71-83.
อริยา ส่งแสงชัย. (2559). การจัดการด้านการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการอาหารไทย. รายงานการค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Chiarakul, T. (2014). Problems and guidelines for adaptation of OTOP. Executive Journal Executive Journal. 34(1) : 177-191. [In Thai]
Gaysornbua, T. (2013). One Tambon One Product Development Guidelines for export in the ASEAN market. Journal of Humanities and Social Sciences. 30(2) : 155-174. [In Thai]
Information Center for Thai Businesses in China in Xi'an, Consulate General in Xi'an. (2017). Halal Thai. [Online]. Available : https://thaibizchina.com/wp-content/uploads/ 2018/11/book-halal-en.pdf. Retrieved June 10, 2021. [In Thai]
Piyaphrai, J. (2014). Type of OTOP products. [Online]. Available : https://jarassari2524. wordpress.com/2014/04/29/product type-otop/. Retrieved June 10, 2021. [In Thai]
Ruangkanlapawong, S. and Ruangkanlapawong, A. (2015). Factors influencing intention to purchase frozen ready-to-cook and ready-to-eat food products under the Halal certification mark. of Muslim consumers in Bangkok. Panyapiwat Journal. 7(2): 71-83. [In Thai]
Songsangchai, A. (2016). Management of Halal Food Standard Certification that Affects Competitive Advantage of Thai Food Entrepreneurs. independent research report Master of Business Administration Program graduate school Bangkok University. [In Thai]
Suwanwat, C. (2017). A Study of Knowledge and Understanding in Halal Food Business of Communities Surrounding Bansomdejchaopraya Rajabhat University to Support the ASEAN Community. Information journal. 16 : 99-112. [In Thai]
The Central Islamic Council of Thailand. (2019). Regulations of the Central Islamic Council of Thailand on Halal Affairs Services 2015. Bangkok: Office of the Central Islamic Council of Thailand. [In Thai]
Wonginka, T. et al. (2015). Value Chain Analysis of Halal Food. Journal of Transportation and Logistics. 8(8) : 1-11. [In Thai]